ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาวะหุ้นและทอง 23-4-2010

สิ่งที่ผมกลัวมันเกิดขึ้นจนได้และก็คงจะกำลังจะบานปลายได้อีกในไม่ช้า ซึ่งก็คือความรุนแรงในย่านธุรกิจและอาจกลายเป็นจราจล ส่วนเรื่องกฏอัยการศึกนั้นผมไม่กลัวเพราะถ้าจะทำให้เหตุการณ์จบได้เร็วก็จะเป็นผลดีมากกว่าปล่อยให้ต่างชาติมองเราเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน แต่กลัวว่ารัฐบาลมัวแต่จะรักษาภาพลักษณ์จนกระทั่งไม่กล้าทำอะไร ทั้งๆที่รับทราบเหตุการณ์ทั้งหมดดี ซึ่งจะนำไปสู่สงครามประชาชน ที่แต่ละคนต่างฝ่ายต่างสีแต่เป็นคนไทยด้วยกันจะหยิบอาวุธออกมาห้ำหั่นกันเองด้วยความเกลียดชัง-เงินตรา-และความเชื่อของพวกเขา

ดูตามเทคนิคกราฟแท่งเทียนแบบญี่ปุ่น : เมื่อวานนี้ออกมาเป็นแท่งในลักษณะ Gravestone Doji ความหมาย คือในระหว่างวัน หุ้นขึ้นไปมากแต่กลับมาปิดใกล้ๆที่เดิม ซึ่งเป็นสัญญาณชี้ทิศทางแนวโน้มลงในวันรุ่งขึ้น

SET แนวรับ 750 , 735 และ 717 หากตลาดตกแรงให้สะสมหุ้นตัวใหญ่เท่านั้น พลังงานก็กลุ่ม PTT อาหาร CPF CPALL และธนาคาร อย่างไรก็ตามให้จับตามองหุ้น NVL เพราะมี Story เรื่อง M&A หรือการควบรวมกิจการจากธนาคารอิสลาม เป้าหมาย 1.40 บาท ถ้าราคาลงยังไม่ต้องซื้อให้เข้าซื้อตอนเริ่มๆขึ้น เพราะความชัดเจนยังไม่ถึง 100%ครับ

ทองคำ : ยิ่งถูกทื้งแรงและมีแรงซื้อกลับยิ่งน่าเข้าซื้อ ราคาทองลงจากปัจจัย $ index ที่แข็งค่าขึ้น แต่มีแรงซื้อกลับเข้ามาเพราะคนยังมองเห็นเป็น safe haven ที่ดีมากๆอยู่ อาจเป็นเพราะไม่เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวจริง ( เป็นความเห็นส่วนตัวผมด้วยครับ bias เล็กๆ ^^ ) / เงินบาทเริ่มอ่อนค่า ส่งผลให้ทองคำไทยราคาบวกมากขึ้น

ปล.บทความภาวะตลาดหุ้นและทอง จัดทำและส่งทางE-mailเป็นประจำทุกเช้า และจะเผยแพร่ทางBlogอย่างเร็วหลังปิดตลาดภาคเช้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร  ? บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ There is no such thing as a free lunch การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity) การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin) การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Margina

กระบวนการ(process) สำคัญกว่า ผลลัพธ์(output)

ฝากถึงน้องๆที่เรียนหรือทำงานสายการตลาด หรืองานใดที่มีเป้าหมาย(goal)เป็นสำคัญ รวมถึงท่านผู้บริหาร.... อย่าได้ไปสนใจผลลัพธ์[output] เป้าหมายหรือคะแนนที่ได้ มากจนเกินไป หลายครั้งที่ผลลัพธ์นั้นเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ หรือต้องใช้โชคช่วย(ดวง) แต่ถ้าเรามีการทำงานหรือมีกระบวนการทำงาน(PROCESS)ที่ดี ...แม้ว่าผลลัพธ์วันนี้ยังไม่ดี จะขอให้เชื่อมั่น และมั่นใจ ในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่ดี และมีคุณภาพ ว่าสักวันหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ดีจะต้องตามมา อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากบางท่านมีกระบวนการที่ไม่ดี แต่ดันโชคช่วยมีผลงานที่ดี ก็อย่าได้เบาใจ จะขอให้ จงระมัดระวัง ว่าผลลัพธ์หรือลูกค้าที่ดีนั้น จะอยู่กับท่านได้ไม่นาน หรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปก็เป็นได้ เพราะว่าดวงที่ดี จะไม่มาช่วยท่านอยู่บ่อยๆหรอก สรุปคือ ... "กระบวนการดี ผลลัพธ์ดีแน่ กระบวนการไม่ดี ผลลัพธ์ไม่แน่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่าบ้าผลลัพธ์มากจนเกินไป สิ่งสำคัญคือการพัฒนาการทำงาน ไม่ใช่ทำทุกทางเพื่อความสำเร็จ สำเร็จแล้วมิใช่เอาแต่ทำบุญหวังโชค หากต้องพัฒนาตนให้ก้าวต่อไปด้วย จึงจะมั่นคง" ปล.ต่อยอดความคิดจ

My Hero

ผมเคยได้ดูภาพยนต์ที่ดีมากๆเรื่องหนึ่งชื่อว่า Batman-The Dark Knight และได้สรุปความลักษณะของฮีโร่คนนี้ได้ว่าเป็นบุคคลประเภท ปิดทองหลังพระ (ตามพระราชดำรัสของในหลวงที่เคารพยิ่งของเรา ที่หวังให้คนไทยเป็นคนดีให้ได้เช่นนี้บ้าง)กล่าวคือ เป็นผู้ซึ่งมีความต้องการช่วยเหลือผู้คนและขจัดความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นในสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆรวมทั้งชื่อเสียงและความมีหน้ามีตาในสังคม อีกทั้งยังได้ลงทุนลงแรงมากมายเพื่อให้สำเร็จตามประสงค์ของตนที่อยากได้สังคมที่ดีขึ้นกว่าที่เป็น ในชีวิตจริงนั้นคงเป็นไปได้ยากที่ในสังคมหนึ่งๆ หรือแม้แต่โลกทั้งใบกลมๆนี้จะมีคนเฉกเช่น Batman เพราะการทำดีในสังคมที่มีแต่อวิชชาหรือความโลภเป็นที่ตั้งนั้น กลับเป็นเรื่องยากที่ผู้ต้องการทำความดีที่อาจต้องมีการเสียสละเกิดขึ้น ซึ่งการเสียสละนี้จะเป็นต้นทุนหรือสิ่งที่เป็นผลเสียต่อคนที่ตั้งใจทำความดีนั้นให้ล้มเลิกความคิดไป หากแต่สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังจากสื่อต่างๆนั้นการทำความดีต่างๆที่พบเจอ 90%หรือมากกว่านั้นเสียอีก คนที่ทำดีผู้นั้นเขาทราบดีว่าเขาจะได้ออกสื่อหรือแม้แต่เป็นผู้เชิญชวนสื่อให้มาทำข่าวในเรื่องที่เขาทำความดีด้วยตัวเอง ซึ่งพบ