ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2008

My Hero

ผมเคยได้ดูภาพยนต์ที่ดีมากๆเรื่องหนึ่งชื่อว่า Batman-The Dark Knight และได้สรุปความลักษณะของฮีโร่คนนี้ได้ว่าเป็นบุคคลประเภท ปิดทองหลังพระ (ตามพระราชดำรัสของในหลวงที่เคารพยิ่งของเรา ที่หวังให้คนไทยเป็นคนดีให้ได้เช่นนี้บ้าง)กล่าวคือ เป็นผู้ซึ่งมีความต้องการช่วยเหลือผู้คนและขจัดความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นในสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆรวมทั้งชื่อเสียงและความมีหน้ามีตาในสังคม อีกทั้งยังได้ลงทุนลงแรงมากมายเพื่อให้สำเร็จตามประสงค์ของตนที่อยากได้สังคมที่ดีขึ้นกว่าที่เป็น ในชีวิตจริงนั้นคงเป็นไปได้ยากที่ในสังคมหนึ่งๆ หรือแม้แต่โลกทั้งใบกลมๆนี้จะมีคนเฉกเช่น Batman เพราะการทำดีในสังคมที่มีแต่อวิชชาหรือความโลภเป็นที่ตั้งนั้น กลับเป็นเรื่องยากที่ผู้ต้องการทำความดีที่อาจต้องมีการเสียสละเกิดขึ้น ซึ่งการเสียสละนี้จะเป็นต้นทุนหรือสิ่งที่เป็นผลเสียต่อคนที่ตั้งใจทำความดีนั้นให้ล้มเลิกความคิดไป หากแต่สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังจากสื่อต่างๆนั้นการทำความดีต่างๆที่พบเจอ 90%หรือมากกว่านั้นเสียอีก คนที่ทำดีผู้นั้นเขาทราบดีว่าเขาจะได้ออกสื่อหรือแม้แต่เป็นผู้เชิญชวนสื่อให้มาทำข่าวในเรื่องที่เขาทำความดีด้วยตัวเอง ซึ่งพบ

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร  ? บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ There is no such thing as a free lunch การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity) การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin) การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Margina