ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์



แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร ?

บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ
  • There is no such thing as a free lunch
  • การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity)
  • การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่


บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา
  • ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น
  • การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น


บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin)
  • การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Marginal Changes”
  • คิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” ผู้ตัดสินใจที่มีเหตุมีผลจะเลือกทำสิ่งใดก็ขึ้นกับว่าประโยชน์ส่วนเพิ่มจากกิจกรรมนั้นมากกว่าต้นทุนส่วนเพิ่มหรือไม่


บทบัญญัติที่ 4 : คนตอบสนองต่อสิ่งจูงใจ
  • เนื่องจากคนตัดสินใจโดยเปรียบเทียบต้นทุนและผลประโยชน์ ดังนั้น พฤติกรรมของคนจึงเปลี่ยนเมื่อโครงสร้างต้นทุนและผลประโยชน์เปลี่ยนไป
  • บทบาทหลักของสิ่งจูงใจในการกำหนดพฤติกรรมมีความสำคัญสำหรับการออกแบบนโยบายของรัฐ(Public Policy)
  • การวิเคราะห์นโยบายแต่ละนโยบายต้องพิจารณาทั้งผลทางตรงและผลทางอ้อมที่เกิดขึ้นผ่านสิ่งจูงใจ นโยบายเปลี่ยนแปลงสิ่งจูงใจและสิ่งจูงใจที่เปลี่ยนแปลงเป็นสาเหตุให้คนเปลี่ยนพฤติกรรม


แต่ละคนมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร ?

บทบัญญัติที่ 5 : การค้าทำให้ทุกฝ่ายดีขึ้น
  • Win-Win Situation
  • การค้าระหว่างประเทศทำให้แต่ละประเทศผลิตสินค้าเฉพาะที่ตนทำได้ดีที่สุดและสามารถบริโภคสินค้าที่หลากหลายชนิดขึ้น
  • เป็นประเทศคู่ค้าในโลกเศรษฐกิจ ,มากกว่าจะถือเป็นคู่แข่ง


บทบัญญัติที่ 6 : "ตลาด" เป็นเครื่องมือที่ดีในการจัดการกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
  • “มือที่มองไม่เห็น” (Invisible Hand) นำไปสู่ผลลัพธ์ที่แต่ละฝ่ายต่างพึงพอใจ
  • “ราคา” เป็นเครื่องมือที่มือที่มองไม่เห็นใช้กำกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ราคาเป็นเครื่องสะท้อนมูลค่าของสินค้านั้นต่อสังคมและยังสะท้อนต้นทุนของสังคมในการสร้างสินค้านั้นขึ้น
  • ครัวเรือนและบริษัทต่างพิจารณา “ราคา” ในการตัดสินใจซื้อและขายสินค้า โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของสังคมส่วนรวมและต้นทุนของสังคมส่วนรวมจากกิจกรรมที่ตนกระทำ
  • ดังนั้น ราคาเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจของแต่ละคน แต่ท้ายที่สุดก็ยังนำไปสู่สวัสดิการที่ดีที่สุดของสังคมส่วนรวม


บทบัญญัติที่ 7 : รัฐบาลสามารถปรับปรุงความล้มเหลวของตลาดได้
  • “ความล้มเหลวของตลาด” (Market Failure)
  • สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของความล้มเหลวของระบบตลาดคือ “ผลกระทบภายนอก” (Externality)
  • “อำนาจกำหนดตลาด” (Market Power)
  • ผูกขาด (Monopoly Power)
  • การควบคุมราคาที่ถูกกำหนดมาจากผู้ผูกขาดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น
  • เป้าหมายหนึ่งของการศึกษาเศรษฐศาสตร์คือช่วยให้คุณแยกแยะได้ว่านโยบายใดถูกกำหนดขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือความเป็นธรรม และนโยบายใดไม่ได้ยึดหลักเช่นนั้น


เศรษฐกิจมีกลไกการทำงานอย่างไร ?

บทบัญญัติที่ 8 : มาตรฐานการครองชีพของประเทศขึ้นอยู่กับความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการ
  • ความแตกต่างของมาตรฐานการครองชีพของประเทศต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับ “ผลิตภาพ” (productivity)
  • “ผลิตภาพ” หมายถึง จำนวนสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นจากเวลาแต่ละชั่วโมงทำงานของคนงาน ประเทศที่คนงานสามารถผลิตสินค้าและบริการได้เป็นจำนวนมากต่อหนึ่งหน่วยเวลา ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะมีมาตรฐานการครองชีพสูง ในประเทศที่มีผลิตภาพต่ำกว่า คนในประเทศนั้นก็ต้องอดทนกับชีวิตความเป็นอยู่ที่ขาดแคลน อัตราการเติบโตของผลิตภาพในประเทศเป็นตัวกำหนดอัตราการเติบโตของรายได้เฉลี่ย


บทบัญญัติที่ 9 : ราคาสินค้าจะสูงขึ้นเมื่อรัฐบาลพิมพ์เงินมากเกินไป
  • ตัวร้ายที่ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องคือ "การเติบโตของปริมาณเงิน"
  • เงินเฟ้อ(Inflation)สร้างต้นทุนให้แก่สังคมมากมาย การรักษาระดับเงินเฟ้อให้ต่ำจึงเป็นเป้าหมายของนโยบายเศรษฐกิจทั่วโลก


บทบัญญัติที่ 10 : ในระยะสั้น สังคมเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ระหว่างเงินเฟ้อและอัตราการว่างงาน
  • การลดเงินเฟ้อเป็นสาเหตุให้มีการว่างงานมากขึ้นในระยะสั้น ภาวะได้อย่าง-เสียอย่างระหว่างเงินเฟ้อกับอัตราว่างงานดังกล่าวเรียกว่า “Phillips curve”
  • Phillip curve มีความสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ผู้กำหนดนโยบายควบคุมการแลกกันระหว่างเงินเฟ้อและการว่างงานผ่านเครื่องมือทางนโยบายที่แตกต่างกัน เช่น เปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายของรัฐบาล ปรับภาษี เปลี่ยนปริมาณเงินในระยะสั้น
  • ผู้กำหนดนโยบายสามารถหาส่วนผสมระหว่างเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานที่เหมาะสมได้ เพราะเครื่องมือทางการเงินและการคลังเหล่านี้มีศักยภาพในการควบคุมเศรษฐกิจ แต่ผู้กำหนดนโยบายจะเลือกใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการจัดการเศรษฐกิจอย่างไรเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันต่อไป.



คัดย่อจากหนังสือ บทความที่แปลมาจากหนังสือเรื่อง หนังสือ Principles of Economics : The Dryden Press , 1997 , N. Gregory Mankiw ครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการ(process) สำคัญกว่า ผลลัพธ์(output)

ฝากถึงน้องๆที่เรียนหรือทำงานสายการตลาด หรืองานใดที่มีเป้าหมาย(goal)เป็นสำคัญ รวมถึงท่านผู้บริหาร.... อย่าได้ไปสนใจผลลัพธ์[output] เป้าหมายหรือคะแนนที่ได้ มากจนเกินไป หลายครั้งที่ผลลัพธ์นั้นเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ หรือต้องใช้โชคช่วย(ดวง) แต่ถ้าเรามีการทำงานหรือมีกระบวนการทำงาน(PROCESS)ที่ดี ...แม้ว่าผลลัพธ์วันนี้ยังไม่ดี จะขอให้เชื่อมั่น และมั่นใจ ในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่ดี และมีคุณภาพ ว่าสักวันหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ดีจะต้องตามมา อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากบางท่านมีกระบวนการที่ไม่ดี แต่ดันโชคช่วยมีผลงานที่ดี ก็อย่าได้เบาใจ จะขอให้ จงระมัดระวัง ว่าผลลัพธ์หรือลูกค้าที่ดีนั้น จะอยู่กับท่านได้ไม่นาน หรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปก็เป็นได้ เพราะว่าดวงที่ดี จะไม่มาช่วยท่านอยู่บ่อยๆหรอก สรุปคือ ... "กระบวนการดี ผลลัพธ์ดีแน่ กระบวนการไม่ดี ผลลัพธ์ไม่แน่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่าบ้าผลลัพธ์มากจนเกินไป สิ่งสำคัญคือการพัฒนาการทำงาน ไม่ใช่ทำทุกทางเพื่อความสำเร็จ สำเร็จแล้วมิใช่เอาแต่ทำบุญหวังโชค หากต้องพัฒนาตนให้ก้าวต่อไปด้วย จึงจะมั่นคง" ปล.ต่อยอดความคิดจ

Ben Bernanke : พี่เหม่ง

Ben Bernanke เป็นบุคคลที่ผมชอบเขียนล้อเลียนขำขำ โดยเรียกว่า"พี่เหม่ง" ... เบนันเก้เป็นประธานFedที่รับไม้ต่อจากนายอลัน กรีนสแปน ซึ่งดำรงตำแหน่งเกือบ 20ปี บุคคลที่นักธุรกิจชาวUsกล่าวยกย่องถึงขนาดที่ว่าเป็นเทวดามาโปรด เพราะสามารถทำให้เศรษฐกิจus เติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด อย่างไรก็ดีไม่มีอะไรจะฝืนธรรมชาติได้ การโตอย่างต่อเนื่องมันต้องมีจุดย่อตัวบ้าง แต่ในขณะนั้นเศรษฐกิจus เติบโต เติบโต เติบโต จากมาตรการของนายกรีนสแปน ที่สำคัญก็คือการลดอัตราดอกเบี้ย เมื่อโตอย่างไม่หยุดพัก ก็เหมือนฟองสบู่ลอยล่องรอวันแตก จนกระทั่งพี่เหม่งของผมเข้ามารับช่วงต่อ ฟองสบู่ก็แตกโพล๊ะ พอดิบพอดี -_-" พี่เหม่งของผมก็เลยรับความซวยนี้ไปเต็มๆ ...อย่างไรก็ดีไม้เด็ดของเฮียอย่างQe ถือเป็นการคิดนอกกรอบเพื่อการแก้วิกฤติแบบนึกไม่ถึงเลยทีเดียว จึงทำให้ในปัจจุบันUs สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตนั้นมาได้ด้วยเงินร้อนๆจากQe 2557ม.ค. ,เฮียกำลังจะหมดวาระ โดยมีแคนดิเดตเช่น ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส  และ เจเน็ต เยลเลน ที่จะเข้ามารับช่วงต่อ ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อชื่นชมเฮียแกจริงๆครับ คงคิดถึงไม่น้อยเลยอะ ..... T-