ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาวะหุ้นและทอง 14-7-10




ทองคำ : นักวิเคราะห์ต่างประเทศสรุปสั้นๆว่า Safe-Haven Buying Also Returns ก็เป็นเรื่องเดิมๆสำหรับความเสี่ยงในหนี้สินในประเทศฝั่งยุโรป (Soverign debt) ผมคงไม่ต้องอธิบายมากเพราะหลายๆท่านเก่งกันอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องรับข่าวสารเยอะ เดี๋ยวจะกลายเป็นมากความไป .....แหม ผมก็พอสังเกตได้อยู่นะ แต่ก็ยังไม่ค่อยกล้าบอกไปชัดๆ เพราะนักลงทุนที่ติดอยู่ตอนที่เล่นแถวๆ SMA 25 วันซึ่งดูเป็นขาขึ้นชัดเจน ก็ไม่กล้าเล่นที่ EMA75 วันซึ่งผมให้เป็นจุดสังเกตใหม่ ไม่งั้นเราก็จะได้รอบใหญ่ๆมา 3-4 รอบคาดว่าถ้าเก็งกำไรตามแนวรับนี้ ถ้าลงทุนใน GF ก็จะได้กำไรน่าจะเกิน 50% (คิดตามอัตรา leverage) แต่ให้ทำไงได้ ยังไม่หายเจ็บจากไอ้เจ้าแท่งสีแดงยาวๆแท่งเดียวที่ทำให้หลุดเทรนด์วันนั้นเลยนี่นา

SET : เปิดสูง ปิดต่ำ หุ้นตัวใหญ่ๆก็ไม่ค่อยขึ้น เล่นแต่ตัวเล็กๆ ดูเหมือนเป็นสัญญาณไม่ค่อยดี เพราะขาใหญ่เล่น net settlement ไม่ค่อยซื้อเก็บเท่าไร ส่วนเรื่องดอกเบี้ยขาขึ้นก็เรียนไปตั้งแต่ต้นปีแล้ว เพราะคงจะลดดอกเบี้ยอีกไม่ไหวมันจะไปติดกับดักสภาพคล่อง(Liquidity trap) แถมโดนเงินเฟ้อกดดันอีกต่างหากยังไงก็ต้องขึ้น อันนี้ทุกคนน่าจะคาดการณ์กันได้.... SET ก็จะวิ่งตามตลาดต่างประเทศเป็นหลัก .....อีกจุดสังเกตหนึ่งก็คือกลุ่ม PTT ราคาน้ำมันดิบขึ้นดีมากแต่ราคาก็ไม่ค่อยขึ้นตาม ไม่ทราบว่าสะสมหุ้นเพื่อขึ้นรอบใหม่หรือเปล่า? และก็TTA ค่าระวางเรือ BDI ร่วงๆจนเป็น Super Oversoldได้ละ แต่ราคา TTA ก็ไม่ค่อยลง น่าสังเกตว่าหากBDI ดีดกลับ TTA จะวิ่งแรงขนาดไหน สำหรับตัวนี้เจ้าเค้าแรงอยู่ คงใช้ปัจจัยพื้นฐานมาวิเคราะห์มากไม่ได้ .... หุ้นน่าสะสมจากการขึ้นเงินเดือนราชการและก็เรื่องเงินเฟ้อ ก็เป็นประเภทขายสินค้าอุปโภคบริโภค (commodity) เช่น CPF CPALL MAKRO ฯลฯ ..... สำหรับคนที่ชอบหุ้นตัวเล็กแนะนำให้อ่าน นสพ.ทันหุ้น คอมลัมน์ ฟันธงมาเนีย และก็ เด็กแนว แต่ก็ระวังกันด้วยนะครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร  ? บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ There is no such thing as a free lunch การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity) การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin) การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Margina

กระบวนการ(process) สำคัญกว่า ผลลัพธ์(output)

ฝากถึงน้องๆที่เรียนหรือทำงานสายการตลาด หรืองานใดที่มีเป้าหมาย(goal)เป็นสำคัญ รวมถึงท่านผู้บริหาร.... อย่าได้ไปสนใจผลลัพธ์[output] เป้าหมายหรือคะแนนที่ได้ มากจนเกินไป หลายครั้งที่ผลลัพธ์นั้นเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ หรือต้องใช้โชคช่วย(ดวง) แต่ถ้าเรามีการทำงานหรือมีกระบวนการทำงาน(PROCESS)ที่ดี ...แม้ว่าผลลัพธ์วันนี้ยังไม่ดี จะขอให้เชื่อมั่น และมั่นใจ ในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่ดี และมีคุณภาพ ว่าสักวันหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ดีจะต้องตามมา อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากบางท่านมีกระบวนการที่ไม่ดี แต่ดันโชคช่วยมีผลงานที่ดี ก็อย่าได้เบาใจ จะขอให้ จงระมัดระวัง ว่าผลลัพธ์หรือลูกค้าที่ดีนั้น จะอยู่กับท่านได้ไม่นาน หรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปก็เป็นได้ เพราะว่าดวงที่ดี จะไม่มาช่วยท่านอยู่บ่อยๆหรอก สรุปคือ ... "กระบวนการดี ผลลัพธ์ดีแน่ กระบวนการไม่ดี ผลลัพธ์ไม่แน่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่าบ้าผลลัพธ์มากจนเกินไป สิ่งสำคัญคือการพัฒนาการทำงาน ไม่ใช่ทำทุกทางเพื่อความสำเร็จ สำเร็จแล้วมิใช่เอาแต่ทำบุญหวังโชค หากต้องพัฒนาตนให้ก้าวต่อไปด้วย จึงจะมั่นคง" ปล.ต่อยอดความคิดจ

Ben Bernanke : พี่เหม่ง

Ben Bernanke เป็นบุคคลที่ผมชอบเขียนล้อเลียนขำขำ โดยเรียกว่า"พี่เหม่ง" ... เบนันเก้เป็นประธานFedที่รับไม้ต่อจากนายอลัน กรีนสแปน ซึ่งดำรงตำแหน่งเกือบ 20ปี บุคคลที่นักธุรกิจชาวUsกล่าวยกย่องถึงขนาดที่ว่าเป็นเทวดามาโปรด เพราะสามารถทำให้เศรษฐกิจus เติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด อย่างไรก็ดีไม่มีอะไรจะฝืนธรรมชาติได้ การโตอย่างต่อเนื่องมันต้องมีจุดย่อตัวบ้าง แต่ในขณะนั้นเศรษฐกิจus เติบโต เติบโต เติบโต จากมาตรการของนายกรีนสแปน ที่สำคัญก็คือการลดอัตราดอกเบี้ย เมื่อโตอย่างไม่หยุดพัก ก็เหมือนฟองสบู่ลอยล่องรอวันแตก จนกระทั่งพี่เหม่งของผมเข้ามารับช่วงต่อ ฟองสบู่ก็แตกโพล๊ะ พอดิบพอดี -_-" พี่เหม่งของผมก็เลยรับความซวยนี้ไปเต็มๆ ...อย่างไรก็ดีไม้เด็ดของเฮียอย่างQe ถือเป็นการคิดนอกกรอบเพื่อการแก้วิกฤติแบบนึกไม่ถึงเลยทีเดียว จึงทำให้ในปัจจุบันUs สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตนั้นมาได้ด้วยเงินร้อนๆจากQe 2557ม.ค. ,เฮียกำลังจะหมดวาระ โดยมีแคนดิเดตเช่น ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส  และ เจเน็ต เยลเลน ที่จะเข้ามารับช่วงต่อ ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อชื่นชมเฮียแกจริงๆครับ คงคิดถึงไม่น้อยเลยอะ ..... T-