ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

QE3 (quantitative easing 3 )


DOW ลากมาซะ 12,000 กว่าจุดพึ่งจะมาบอกว่าเป็นกังวลว่าเศรษฐกิจ US อาจจะฟื้นตัวได้ลำบาก ...ผมใช้คำว่า"ลากมา"เหมือนกับจะบอกว่าก่อนหน้าที่DOWขึ้นมา มันขึ้นมาไม่จริง? ถ้าได้ติดตามกันมาตลอดก็จะจำได้ว่าผมไม่เคยเชื่อถือตัวเลขพื้นฐานเศรษฐกิจสหรัฐ

เศรษฐกิจสหรัฐจากช่วงปลายปีที่แล้วอาศัยมาตรการ QE2ในการพยุงเศรษฐกิจให้เอาตัวรอดจากปัญหาโรควิกฤตSub primeเรื้อรัง ในขณะที่มีความจำเป็นอย่างมากในการพิมพ์เงินออกมาช่วยเหลือ(BailOut)ผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือเงินเฟ้อ ข้าวของแพงขึ้น ค่าครองชีพแพงขึ้นทุกวันๆ แต่แล้วในที่สุดมาถึงวันนี้อัตราการว่างงานใน US ก็ไม่ได้ดูดีขึ้นแต่อย่างใดทั้งๆที่DOW rallyขึ้นซะขนาดนี้ มองเข้าไปดีๆแล้วผู้คนจะยิ่งแย่กว่าเก่าด้วยซ้ำ เพราะผลกรรมที่ผู้คนทั่วไปในUSต้องทนแบกรับคือ 1.จนลงเพราะค่าเงิน$อ่อนลงยวบยาบ ชนชั้นล่างประเภท Backpackerคงมาเที่ยวเมืองไทยเป็นเดือนๆไม่ได้เหมือนแต่ก่อน (กลับกันคนนอกUSรวยขึ้น โรงแรม,สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆUSต้อนรับนักท่องเที่ยวจากเอเซียมากขึ้น) 2.ข้าวของแพงขึ้น ค่าครองชีพแพงขึ้นจากเงินเฟ้อ 3.การว่างงานสูงขึ้นจึงต้องแก่งแย่งในการเอาตัวรอดในการหางานและรักษางานที่ตัวเองทำให้มากขึ้น และที่สืบเนื่องจากเหตุผลเงินเฟ้อคนอเมริกาจำต้องยอมจ่ายค่าการศึกษาแพงขึ้นเพื่อที่จะได้หางานที่ต้องการทักษะอาชีพที่สูงขึ้น เพราะงานทักษะขั้นต่ำมีการแย่งชิงกันมากเกินไป

มาจนถึงวันนี้ทุกคนคงกระจ่างมากขึ้นว่าอเมริการับผลจากความโลภที่ตัวเองได้ก่อไว้ก่อนเกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์มากแค่ไหน จนกรทั่งต้องทำร้ายสกุลเงินของตัวเองด้วย QE1 > QE2 และในขณะนี้เริ่มมีการพูดถึง QE3กันแล้ว

ตอนนี้ถ้าจะถามว่าตอนนี้เศรษฐกิจ US เป็น Stagflationหรือเปล่า ? ผมว่าไม่! เพราะเศรษฐกิจไม่ได้ซึมเซามองที่DOWสิครับคึกคักจะตาย(เก็งกำไร) ทุกวันนี้พวกเราเจอภาพลวงตากันมากขึ้นทุกวันๆจะตีความอะไรสักอย่างเป็นเรื่องที่ยากมากจริงๆ แต่ที่พอจะบอกได้ชัดคือตอนนี้ US ว่างงานมากและเงินเฟ้อสูง พี่ใหญ่USได้เจอปัญหาที่กลืนไม่เข้าคลายไม่ออก เพราะไม่อาจแก้ปัญหาการว่างงานกับเงินเฟ้อไปพร้อมๆกันได้ ว่ากันว่าเป็นของแสลงกัน (อาจารย์ Phillipบอกมา: Phillip curve) การจะแก้ปัญหาว่างงานด้วยการลดดอกเบี้ยก็จะไปกระตุ้นให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ครั้นจะไปแก้ปัญหาเงินเฟ้อด้วยการขึ้นดอกเบี้ยก็จะทำให้ว่างงานมากขึ้น

มาถึงตรงนี้แล้วจะทำยังไง ? จะเลือกปฏิบัติเช่นไร หากให้ผมเดาใจนักการเมืองUS ผมว่าง่ายมากๆคือ ไม่ขึ้นดอกเบี้ยแน่นอน เพราะยังไงๆสิ่งที่นักการเมืองอยากได้มากที่สุดคือ Vote แต่จะให้ไปลดอัตราดอกเบี้ยก็คงไม่ไหวเพราะเข้าใจว่าติดกับดัสภาพคล่อง(liquidity trap)ซะแล้ว ถ้าเลือกได้จริงๆละก็ ผมว่าเค้าอยากลดดอกเบี้ยครับ เพราะจริงๆแล้วคนมีการศึกษาในUSไม่ได้สูงและจำนวนมากเท่าไร  เงินจะเฟ้อมากแค่ไหรคนคงไม่สนเท่ากับการไม่มีงานทำมากกว่า.... แต่ในเมื่อมันทำไม่ได้ทั้งสองทาง วิธีทำคือ คิดนอกกรอบ โดยอาจจะจำยอมทำ QE3อีกสักครั้ง

เขียนเยอะเลย แค่อยากบอกว่าอย่ากลัวถ้าจะซื้อทองราคาแพง เพราะมันคุ้มที่จะลุ้น ถ้ามันลงมาก็แค่ซื้อเพิ่มแค่นั้นเอง คิดมากทำไม -_-" (เขียนมาตั้งเยอะสรุปง่ายไปมั้ยเนี่ย ฮ่าๆ ^^)

จริงๆอยากเขียนมากกว่านี้ แต่เหนื่อยกับSETจัง ต้องแสดงความดีใจกับคนกล้าCut lossไว้ ณ ที่นี้ด้วย เนื่องจากSETไม่ทำTripple bottomแล้วกลับตัวขึ้นที่ 1050 หลุดแล้วหลุดเลยมองกลับขึ้นไป โอ 1050 ไก๊ล ไกล...หลักการลงทุนง่ายๆอันเป็นคำพูดของมหาเซียนคุณลุงโฉลกเคยกล่าวไว้ว่า "อะไรขึ้น-ขึ้นต่อ(จนกว่ามันจะลง) / อะไรลง-ลงต่อ(จนกว่ามันจะขึ้น)"ครับผม


แถมข้อมูลให้อีกนิด:
ราคาทองขึ้นไม่เคยหยุด ทองคำ Breakเหนือ 1400ด้วยมาตรการQE2ในช่วงพ.ย.2010 หลังจากนั้นก็ทำNew highเรื่อยๆ จากแรงส่งของ USD indexที่ทำ New Lowเรื่อยๆเช่นกัน ในเมื่อ USD indexขยันทำNew low ทองก็จะขยันทำNew Highเช่นกัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร  ? บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ There is no such thing as a free lunch การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity) การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin) การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Margina

กระบวนการ(process) สำคัญกว่า ผลลัพธ์(output)

ฝากถึงน้องๆที่เรียนหรือทำงานสายการตลาด หรืองานใดที่มีเป้าหมาย(goal)เป็นสำคัญ รวมถึงท่านผู้บริหาร.... อย่าได้ไปสนใจผลลัพธ์[output] เป้าหมายหรือคะแนนที่ได้ มากจนเกินไป หลายครั้งที่ผลลัพธ์นั้นเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ หรือต้องใช้โชคช่วย(ดวง) แต่ถ้าเรามีการทำงานหรือมีกระบวนการทำงาน(PROCESS)ที่ดี ...แม้ว่าผลลัพธ์วันนี้ยังไม่ดี จะขอให้เชื่อมั่น และมั่นใจ ในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่ดี และมีคุณภาพ ว่าสักวันหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ดีจะต้องตามมา อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากบางท่านมีกระบวนการที่ไม่ดี แต่ดันโชคช่วยมีผลงานที่ดี ก็อย่าได้เบาใจ จะขอให้ จงระมัดระวัง ว่าผลลัพธ์หรือลูกค้าที่ดีนั้น จะอยู่กับท่านได้ไม่นาน หรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปก็เป็นได้ เพราะว่าดวงที่ดี จะไม่มาช่วยท่านอยู่บ่อยๆหรอก สรุปคือ ... "กระบวนการดี ผลลัพธ์ดีแน่ กระบวนการไม่ดี ผลลัพธ์ไม่แน่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่าบ้าผลลัพธ์มากจนเกินไป สิ่งสำคัญคือการพัฒนาการทำงาน ไม่ใช่ทำทุกทางเพื่อความสำเร็จ สำเร็จแล้วมิใช่เอาแต่ทำบุญหวังโชค หากต้องพัฒนาตนให้ก้าวต่อไปด้วย จึงจะมั่นคง" ปล.ต่อยอดความคิดจ

My Hero

ผมเคยได้ดูภาพยนต์ที่ดีมากๆเรื่องหนึ่งชื่อว่า Batman-The Dark Knight และได้สรุปความลักษณะของฮีโร่คนนี้ได้ว่าเป็นบุคคลประเภท ปิดทองหลังพระ (ตามพระราชดำรัสของในหลวงที่เคารพยิ่งของเรา ที่หวังให้คนไทยเป็นคนดีให้ได้เช่นนี้บ้าง)กล่าวคือ เป็นผู้ซึ่งมีความต้องการช่วยเหลือผู้คนและขจัดความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นในสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆรวมทั้งชื่อเสียงและความมีหน้ามีตาในสังคม อีกทั้งยังได้ลงทุนลงแรงมากมายเพื่อให้สำเร็จตามประสงค์ของตนที่อยากได้สังคมที่ดีขึ้นกว่าที่เป็น ในชีวิตจริงนั้นคงเป็นไปได้ยากที่ในสังคมหนึ่งๆ หรือแม้แต่โลกทั้งใบกลมๆนี้จะมีคนเฉกเช่น Batman เพราะการทำดีในสังคมที่มีแต่อวิชชาหรือความโลภเป็นที่ตั้งนั้น กลับเป็นเรื่องยากที่ผู้ต้องการทำความดีที่อาจต้องมีการเสียสละเกิดขึ้น ซึ่งการเสียสละนี้จะเป็นต้นทุนหรือสิ่งที่เป็นผลเสียต่อคนที่ตั้งใจทำความดีนั้นให้ล้มเลิกความคิดไป หากแต่สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังจากสื่อต่างๆนั้นการทำความดีต่างๆที่พบเจอ 90%หรือมากกว่านั้นเสียอีก คนที่ทำดีผู้นั้นเขาทราบดีว่าเขาจะได้ออกสื่อหรือแม้แต่เป็นผู้เชิญชวนสื่อให้มาทำข่าวในเรื่องที่เขาทำความดีด้วยตัวเอง ซึ่งพบ