ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาวะทองคำ 15-6-54



สำหรับทองคำ เมื่อวานผมไม่ได้ call และ E-mailเข้าไป เนื่องจากคิดไม่ตก  ประเด็นคือ
1.จีนกันเพิ่มสำรองธนาคารแทนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรัดเข็มขัดทางเศรษฐกิจอย่างที่ได้คาดการณ์ไว้
2.เรื่องปัญหาหนี้สินในEUและเศรษฐกิจUSยังต้องจับตามอง
3 การซื้อ-ขายของ Dominant player สามารถทำให้ราคาหลุดแนวรับสำคัญได้ แม้ประเด็นในการขายอาจไม่หนักแน่นเท่ากับการแกว่งตัวของราคาที่รุนแรง

ผมเรียบเรียงความคิดได้ว่าสำหรับจีนที่เพิ่มสำรองธนาคารแทนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นถือเป็นการรัดเข็มขัดทางเศรษฐกิจได้เหมือนกัน กล่าวคือแทนที่จะดึงเม็ดเงินในเศรษฐกิจ(Money Supply)กลับเข้ามาในระบบด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย  จีนเลือกที่จะกันสำรองธนาคารซึ่งจะทำให้การปล่อยสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจน้อยลง การที่จีนเลือกแบบนี้น่าจะส่งผลบวกกับราคาทองคำเพราะการขึ้นดอกเบี้ยมีผลทำให้ผู้คนขาย Risky asset (สินทรัพย์เสี่ยง)เพื่อไปซื้อRisk-free asset (สินทรัพย์ปลอดความเสี่ยง)ในที่นี้ว่ากันง่ายๆคือ พันธบัตรรัฐบาล จากการประเมิณในลักษณะนี้ผมว่าทองคำน่าจะขึ้น แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่าตรรกะแบบนี้จะถูกต้องในสถาณการณ์แบบนี้หรือไม่ พ่วงด้วยเหตุผลจากข้อ2.และ3แล้ว ผมว่าวิเคราะห์ออกมาได้ยาก และอาจจะใส่biasได้เยอะมาก ผมก็เลยพูดน้อย action น้อยไปหน่อยครับ ^^

อย่างไรก็ดีในทางเทคนิค หลุด 1530 ลงมาซึ่งเป็นจุดที่การลงทุนระยะเดือนไม่น่าหลุดแต่ในภาพระยะยาวยังได้อยู่ ถ้ารอบนี้ ซึ่งผมเคยให้ fundamentalแบบค่อนข้างมั่นใจว่า break alltime-highแน่ๆแล้ว ความจริงกลับไม่เป็นแบบนั้น แถมราคาในภาพใหญ่เกือบๆจะเสียทรงจาก Up-trend เป็น Side-way  ถ้าถามว่าควรทำยังไง ก็ตอบเหมือนเดิมคือไม่ต้องคิดมากนักในเมื่อภาพใหญ่ยังคงเป็นขาขึ้นอยู่สะสม long ตามระดับความเสี่ยงของราคาในช่วงนั้น และความเสี่ยงที่portfolioคุณรับได้ แต่ถ้าหากเปลี่ยนเป็น Side-way เดี๋ยวว่ากันอีกรอบครับ

เพิ่มเติม ช่วง1-2ปีนี้เล่นตามSPDRไม่ค่อยดีนะ น่าจะเจ๊งมากกว่า ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ กรีซ-โปรตุเกสและ QE ครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร  ? บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ There is no such thing as a free lunch การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity) การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin) การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Mar...

กระบวนการ(process) สำคัญกว่า ผลลัพธ์(output)

ฝากถึงน้องๆที่เรียนหรือทำงานสายการตลาด หรืองานใดที่มีเป้าหมาย(goal)เป็นสำคัญ รวมถึงท่านผู้บริหาร.... อย่าได้ไปสนใจผลลัพธ์[output] เป้าหมายหรือคะแนนที่ได้ มากจนเกินไป หลายครั้งที่ผลลัพธ์นั้นเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ หรือต้องใช้โชคช่วย(ดวง) แต่ถ้าเรามีการทำงานหรือมีกระบวนการทำงาน(PROCESS)ที่ดี ...แม้ว่าผลลัพธ์วันนี้ยังไม่ดี จะขอให้เชื่อมั่น และมั่นใจ ในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่ดี และมีคุณภาพ ว่าสักวันหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ดีจะต้องตามมา อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากบางท่านมีกระบวนการที่ไม่ดี แต่ดันโชคช่วยมีผลงานที่ดี ก็อย่าได้เบาใจ จะขอให้ จงระมัดระวัง ว่าผลลัพธ์หรือลูกค้าที่ดีนั้น จะอยู่กับท่านได้ไม่นาน หรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปก็เป็นได้ เพราะว่าดวงที่ดี จะไม่มาช่วยท่านอยู่บ่อยๆหรอก สรุปคือ ... "กระบวนการดี ผลลัพธ์ดีแน่ กระบวนการไม่ดี ผลลัพธ์ไม่แน่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่าบ้าผลลัพธ์มากจนเกินไป สิ่งสำคัญคือการพัฒนาการทำงาน ไม่ใช่ทำทุกทางเพื่อความสำเร็จ สำเร็จแล้วมิใช่เอาแต่ทำบุญหวังโชค หากต้องพัฒนาตนให้ก้าวต่อไปด้วย จึงจะมั่นคง" ปล.ต่อยอดความคิดจ...

Ben Bernanke : พี่เหม่ง

Ben Bernanke เป็นบุคคลที่ผมชอบเขียนล้อเลียนขำขำ โดยเรียกว่า"พี่เหม่ง" ... เบนันเก้เป็นประธานFedที่รับไม้ต่อจากนายอลัน กรีนสแปน ซึ่งดำรงตำแหน่งเกือบ 20ปี บุคคลที่นักธุรกิจชาวUsกล่าวยกย่องถึงขนาดที่ว่าเป็นเทวดามาโปรด เพราะสามารถทำให้เศรษฐกิจus เติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด อย่างไรก็ดีไม่มีอะไรจะฝืนธรรมชาติได้ การโตอย่างต่อเนื่องมันต้องมีจุดย่อตัวบ้าง แต่ในขณะนั้นเศรษฐกิจus เติบโต เติบโต เติบโต จากมาตรการของนายกรีนสแปน ที่สำคัญก็คือการลดอัตราดอกเบี้ย เมื่อโตอย่างไม่หยุดพัก ก็เหมือนฟองสบู่ลอยล่องรอวันแตก จนกระทั่งพี่เหม่งของผมเข้ามารับช่วงต่อ ฟองสบู่ก็แตกโพล๊ะ พอดิบพอดี -_-" พี่เหม่งของผมก็เลยรับความซวยนี้ไปเต็มๆ ...อย่างไรก็ดีไม้เด็ดของเฮียอย่างQe ถือเป็นการคิดนอกกรอบเพื่อการแก้วิกฤติแบบนึกไม่ถึงเลยทีเดียว จึงทำให้ในปัจจุบันUs สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตนั้นมาได้ด้วยเงินร้อนๆจากQe 2557ม.ค. ,เฮียกำลังจะหมดวาระ โดยมีแคนดิเดตเช่น ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส  และ เจเน็ต เยลเลน ที่จะเข้ามารับช่วงต่อ ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อชื่นชมเฮียแกจริงๆครับ คงคิดถึงไม่น้อยเลยอะ ..... T-...