ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาวะหุ้นและทอง 30-09-10 (ค่ำ 29-9)

Marginal Thinking

SET : ช่วงนี้บรรยากาศใน SET ดูเหมือนจะคล้ายๆในช่วงเดือนก.ค.ที่ SET อยู่ในระดับ 840 ในช่วงนั้นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์รวมทั้งสถาบันในประเทศต่างมองว่า SET น่าจะปรับตัวลงเนื่องจากวิ่งขึ้นมาแรงในระยะเวลาอันสั้นจากแถวๆ 720 ต่างทยอยขายออกมา ซึ่งสวนทางกับทิศทางกระแสเงินที่ไหลเข้ามาใน SET บ้านเราจึงทำให้ SET วิ่งขึ้นมาแถวๆ 970จุดได้ในเมื่อวาน (คนที่ซื้อกองทุนหุ้นรบกวนเช็คด้วยว่ากองทุนหุ้นท่านมีกำไรตามตลาดไหม?)

ต้องทวนความเข้าใจกันอีกทีว่าเมื่อเงินทุนไหลเข้าประเทศไทยจะทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ตีความเป็นการกระทำได้ดังนี้คือ เช่น นักลงทุนจากประเทศ USA ต้องการเข้ามาลงทุนในไทย แต่เขาถือเงิน $ จำต้องเอาเงิน $ เข้ามาแลกเป็นเงิน B เพื่อทำธุรกรรมในไทยได้ ดังนั้นอยู่ดีๆเมื่อเงิน Baht มีคนต้องการแลกมากๆนั่นหมายถึงมีความต้องการซื้อ(Demand)ในเงินบาทมาก ...เมื่อมี Demand มากๆธรรมดาสิ่งๆนั้นราคาย่อมสูงขึ้น ซึ่งในที่นี้ก็คือ ค่าเงินบาทแข็งค่ามากขึ้นนั่นเองครับ (จาก 31 ลงไป 30 usd/thb คือค่าเงินบาทแข็งขึ้นเพราะเราใช้เงินบาทน้อยลงในการเปลี่ยนเป็น usd)

มีคนถามผมว่า อย่างที่ผมเคยเรียนไว้ว่าเมื่อฝรั่งเข้ามาลงทุนในไทยจึงทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ดังนั้นในตอนนี้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นมามากๆแล้ว เงินจากต่างประเทศยังจะเข้ามาอยู่เหรอ ? ...คำถามนี้เป็นคำถามที่เอาไว้พิจารณาซื้อขายหุ้น SET ช่วงนี้ได้ดีที่สุดครับ กล่าวคือ วิธีคิดสำหรับฝรั่งก่อนจะเข้ามาลงทุนในไทยในเรื่องค่าเงินคือ เงินบาทมันจะยังแข็งค่าขึ้นต่ออีกไหม ? นี่คือเป็นวิธีคิดแบบหน่วยเพิ่มสุดท้าย หรือ ราคาล่าสุดที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าไร พูดแบบฝรั่งสั้นๆว่า เป็นวิธีคิดแบบ Marginal ซึ่งเป็นวิธีคิดของนักเศรษฐศาสตร์ขั้นพื้นฐาน .....ดังนั้นเมื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงไม่ใช้มาตรการยาแรง (Cold turkey) กับค่าเงินบาท เงินบาทก็จะยังแข็งต่อเนื่อง ต่อไปเนื่องจากเงินทุนไหลเข้ามันจะมาด้วยความมั่นใจครับ....แล้วถามต่อว่าจะแข็งไปถึงไหน? คำตอบคือ ต้องเช็คว่าเงินที่เข้าไทยมาในรอบนี้ไปอยู่ที่ไหน ? ที่ชัดเจนคือ ใน SET และพันธบัตร ส่วนจะเป็นการลงทุนทางตรงหรือไม่? (Foreign Direct Investment: FDI) ถ้าเป็น FDI เยอะๆก็จะดีมาก เพราะเงินฝรั่งจะอยู่ในไทยนานกว่าที่จะอยู่ใน SET และbond แต่ผมไม่มีเวลาไปเช็คข้อมูลนะครับว่าเป็นสัดส่วนมากน้อยเพียงใด แต่หวังให้มันเป็นสัดส่วนที่เยอะก็แล้วกันนะ(สาธุ) ...แล้วจะแข็งถึงไหน? ตอบตรงๆคือ จนกว่าเค้าจะขาย หุ้น SET,Bond หรือการลงทุนอื่นๆแล้วเองเงินบาทไปแลกเงินของประเทศเขาแล้วเอากลับบ้านครับ

ปล.หลักวิธีคิดแบบ Marginal อันนี้หลายคนไม่ค่อยเข้าใจนะครับ ตัวอย่าง เช่นหุ้นที่ผมเคยแนะนำ(นานๆที / ปกติจะไม่เขียน) เช่น Banpu 620 และ Pttep 145 (เช็คย้อนหลังได้) ผมเรียนไปว่า ถ้าหุ้นทั้งสองตัวยืนราคานี้ถึงน่าซื้อเพราะมีแนวโน้มจะขึ้นต่อ ขณะนั้น Banpuอยู่ที่ 622 และ Pttep อยู่ที่ 143 ....คนที่เข้าใจหลักคิดนี้ก็จะซื้อ Banpu โดยไม่คำนึงว่า Pttep ที่ 143 มันถูกกว่าราคาที่ผมบอกไว้ ส่วนคนที่ไม่เข้าใจ(แต่ผมไม่ได้บอกว่าผิดเพราะอาจจะมีวิธีคิดอีกแบบนึงก็ได้)ก็จะเข้าซื้อPttep ที่ 143 แน่นอนเพราะเห็นราคาถูกกว่าที่ให้ไว้ แล้วตอนนี้เป็นยังไงครับ ผลตอบแทนจากหุ้นทั้งสองตัว ณ.ขณะนี้มันผิดกันมากเลยนะครับ ทั้งๆที่ค่าเบต้าก็ไม่ได้ผิดกันมาก

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าบอกแล้วต้องขึ้นทุกตัว แค่เรียนว่า มันมีโอกาสจะขึ้นมากกว่า แต่เมื่อลงทุนไปแล้วราคาก็อาจกลับตัวลงก็ได้ ดังนั้นการกระจายความเสี่ยง (Risk diversification) เป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตามการกระจายความเสี่ยงไม่ใช่การซื้อหุ้นที่จะขึ้นตัวนึง แล้วก็ซื้อหุ้นที่จะลงอีกตัวนึง แบบนี้มันเพี้ยนครับ ...ที่จริงต้องเป็นแบบนี้ = หุ้นที่เราจะซื้อต้องขึ้นทุกตัว แต่จะมีลงบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาของการลงทุน เพียงขอให้ถูกมากกว่าผิด และมีตัวที่สามารถ Let’s profit run ได้ยาวๆก็พอครับ (อย่างนี้ไม่เรียกว่าโลภนะ เรียกว่าฉลาดลงทุนแบบพอเพียงครับ)

ตอนนี้ตลาดเป็นขาขึ้นให้ซื้อตัวใหญ่ๆ แหว่งแหก็ถูกขอให้ High beta หรือวิ่งเร็วๆสักนิดก็เป็นดีเพื่อฉวยโอกาสตอนตลาดขาขึ้น ถ้ามองตลาดเริ่มเอื่อยๆก็ให้ลงทุนใน CPF / ADVANC ครับ

ทองคำ : เป็นเรื่องเดียวกันกับเงินทุนไหลออก ความกังวลในภาคธุรกิจโดยเฉพาะในภาคการเงินฝั่ง ยุโรป ญี่ปุ่น และ USA เงินก็เลยไหลสู่ทอง และตลาดหุ้นต่างๆที่โลกที่ฝรั่งเค้าพิจารณาแล้วมี Domino effect น้อย..... ค่าเงินบาทแข็งมาก Spot ก็ขึ้นมาก นี่ถ้าค่าเงินบาทนิ่งๆ พวกเราที่ Holdกันมาตั้งแต่ 1160 กำไรเกิน 100% แน่นอนครับ(GFนะ) อย่างไรก็ตามตอนนี้ทะลุ 1300 แล้วทยอยขายออกมาบ้างก็ดี ขึ้นบ้างก็ช่างมัน แต่ถ้าหลุด 1300 แล้วยืนไม่ได้ ออกมาดูมันสักพัก ก็ได้ ไม่ต้องกลัว Marketing จะเหงา แต่ถ้ายืนได้อาจให้เวลาสัก 2-5 วันทำการก็ซื้อตามได้เลยครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร  ? บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ There is no such thing as a free lunch การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity) การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin) การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Margina

กระบวนการ(process) สำคัญกว่า ผลลัพธ์(output)

ฝากถึงน้องๆที่เรียนหรือทำงานสายการตลาด หรืองานใดที่มีเป้าหมาย(goal)เป็นสำคัญ รวมถึงท่านผู้บริหาร.... อย่าได้ไปสนใจผลลัพธ์[output] เป้าหมายหรือคะแนนที่ได้ มากจนเกินไป หลายครั้งที่ผลลัพธ์นั้นเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ หรือต้องใช้โชคช่วย(ดวง) แต่ถ้าเรามีการทำงานหรือมีกระบวนการทำงาน(PROCESS)ที่ดี ...แม้ว่าผลลัพธ์วันนี้ยังไม่ดี จะขอให้เชื่อมั่น และมั่นใจ ในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่ดี และมีคุณภาพ ว่าสักวันหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ดีจะต้องตามมา อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากบางท่านมีกระบวนการที่ไม่ดี แต่ดันโชคช่วยมีผลงานที่ดี ก็อย่าได้เบาใจ จะขอให้ จงระมัดระวัง ว่าผลลัพธ์หรือลูกค้าที่ดีนั้น จะอยู่กับท่านได้ไม่นาน หรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปก็เป็นได้ เพราะว่าดวงที่ดี จะไม่มาช่วยท่านอยู่บ่อยๆหรอก สรุปคือ ... "กระบวนการดี ผลลัพธ์ดีแน่ กระบวนการไม่ดี ผลลัพธ์ไม่แน่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่าบ้าผลลัพธ์มากจนเกินไป สิ่งสำคัญคือการพัฒนาการทำงาน ไม่ใช่ทำทุกทางเพื่อความสำเร็จ สำเร็จแล้วมิใช่เอาแต่ทำบุญหวังโชค หากต้องพัฒนาตนให้ก้าวต่อไปด้วย จึงจะมั่นคง" ปล.ต่อยอดความคิดจ

Ben Bernanke : พี่เหม่ง

Ben Bernanke เป็นบุคคลที่ผมชอบเขียนล้อเลียนขำขำ โดยเรียกว่า"พี่เหม่ง" ... เบนันเก้เป็นประธานFedที่รับไม้ต่อจากนายอลัน กรีนสแปน ซึ่งดำรงตำแหน่งเกือบ 20ปี บุคคลที่นักธุรกิจชาวUsกล่าวยกย่องถึงขนาดที่ว่าเป็นเทวดามาโปรด เพราะสามารถทำให้เศรษฐกิจus เติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด อย่างไรก็ดีไม่มีอะไรจะฝืนธรรมชาติได้ การโตอย่างต่อเนื่องมันต้องมีจุดย่อตัวบ้าง แต่ในขณะนั้นเศรษฐกิจus เติบโต เติบโต เติบโต จากมาตรการของนายกรีนสแปน ที่สำคัญก็คือการลดอัตราดอกเบี้ย เมื่อโตอย่างไม่หยุดพัก ก็เหมือนฟองสบู่ลอยล่องรอวันแตก จนกระทั่งพี่เหม่งของผมเข้ามารับช่วงต่อ ฟองสบู่ก็แตกโพล๊ะ พอดิบพอดี -_-" พี่เหม่งของผมก็เลยรับความซวยนี้ไปเต็มๆ ...อย่างไรก็ดีไม้เด็ดของเฮียอย่างQe ถือเป็นการคิดนอกกรอบเพื่อการแก้วิกฤติแบบนึกไม่ถึงเลยทีเดียว จึงทำให้ในปัจจุบันUs สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตนั้นมาได้ด้วยเงินร้อนๆจากQe 2557ม.ค. ,เฮียกำลังจะหมดวาระ โดยมีแคนดิเดตเช่น ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส  และ เจเน็ต เยลเลน ที่จะเข้ามารับช่วงต่อ ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อชื่นชมเฮียแกจริงๆครับ คงคิดถึงไม่น้อยเลยอะ ..... T-