ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาวะหุ้นและทอง 4-8-10

ทอง : เงินจะไปทางไหน ? คำตอบก็คือเงินจะไปในที่ๆมีผลตอบแทนสูงสุด ถ้าเราตั้งหลักด้วยสมมติฐานที่ถูกต้องแบบนี้ก็จะทำให้ เราสามารถตามทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินได้อย่างถูกต้อง และนี่ก็เป็นเหตุผลสำคัญในการขายทองเพื่อนำเงินสดโยกไปเข้าซื้อหุ้น หลัง....

1.ตัวเลขผลประกอบการ และการทำ Stress test ของธนาคารทางฝั่งยุโรปออกมาดูดีใช้ได้ ทำให้ความมั่นใจของนักลงทุนกลับคืนมา เพราะธนาคารถือเป็นหัวใจในระบบเศรษฐกิจ

2.เงินเฟ้อไม่สูง : ตัวเลขผลประกอบการของ P&Gออกมาไม่ดี ก็แสดงว่าของใช้ประจำวันไม่ค่อยถูกซื้อใช้มากเท่าที่ควร เพราะคนไม่ค่อยมีเงิน -> เงินเฟ้อก็จะไม่สูงขึ้น ,การว่างงานยังสูงอยู่ ทั้งสองเหตุผลจะส่งกดดันไม่ให้ขึ้นดอกเบี้ยได้ (ประเด็นเรื่อง hedging inflation risk)

ที่อธิบายมาเป็นเหตุผลที่ทำให้ทองคำถูกทำให้ไม่น่าสนใจในการลงทุนของนักลงทุนทั่วโลก เพราะเงินมีหนึ่งก้อนจะสามารถแปลงเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่า หุ้น ทอง หรือพันธบัตร ดังนั้น เมื่อหุ้นมีโอกาสกลับตัวมาจากภาวะกดดันจากความวิตกในปัญหาหนี้สินทางฝั่งยุโรปในช่วงครึ่งปีแรกคลี่คลายก็จะทำให้นักลงทุนมีโอกาสแสวงหา Capital gain จากหุ้นได้มากกว่า

อย่างไรก็ตามหุ้นทางฝั่งตะวันตกได้ปรับตัวขึ้นมาหลายวันมากแล้ว อีกทั้งดอกเบี้ยที่ยังไม่น่าจะเป็นขาขึ้นในช่วงเวลานี้จากเหตุผลข้างต้น ก็อาจทำให้ ทองคำกลับมาน่าสนใจอีกครั้งนึง มาลุ้นให้ break 1200 กันเถอะครับ

SET : Over Bought มาหลายวันแล้ว อีกทั้งขึ้นทั้งๆที่ ริมาณการซื้อขายก็ลดลงๆ ถือว่าเป็นการขัดแย้งขาขึ้นชัดๆ แต่ฝรั่งก็ซื้อเอาๆ ส่วนกองทุนก็ขายทิ้งๆแถม Short Future แถมข้อมูลให้อีกนิดว่าปริมาณหุ้นที่ถูกนำมา Short Sell ก็มากขึ้นทุกวันๆ...การเล่นขึ้นมารอบนี้เหนือ 840 ขึ้น ผมต้องเรียนว่าไม่เข้าใจฝรั่งจริงๆ ไม่ทราบว่าเป็น Hot money หรือไม่ หรืออาจเข้ามาเพื่อหนี $ ที่คาดว่าจะอ่อนค่าลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นก็ตามแต่ ...พวกเรามาเน้นขายกันต่อไปสำหรับหุ้นตัวใหญ่ๆเอากำไรแบบพอเพียง และก็ใครมีตัวเล็กเจ๋งๆก็ซื้อได้ฮะไม่เกี่ยวกับตลาด กลยุทธ์ก็รอรับตัวที่มีปันผลใกล้ๆนี่ละหลายตัวเลยครับ

ปล.บทความภาวะตลาดหุ้นและทอง จัดทำและส่งทางE-mailเป็นประจำทุกเช้า และจะเผยแพร่ทางBlogอย่างเร็วหลังปิดตลาดภาคเช้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร  ? บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ There is no such thing as a free lunch การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity) การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin) การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Mar...

กระบวนการ(process) สำคัญกว่า ผลลัพธ์(output)

ฝากถึงน้องๆที่เรียนหรือทำงานสายการตลาด หรืองานใดที่มีเป้าหมาย(goal)เป็นสำคัญ รวมถึงท่านผู้บริหาร.... อย่าได้ไปสนใจผลลัพธ์[output] เป้าหมายหรือคะแนนที่ได้ มากจนเกินไป หลายครั้งที่ผลลัพธ์นั้นเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ หรือต้องใช้โชคช่วย(ดวง) แต่ถ้าเรามีการทำงานหรือมีกระบวนการทำงาน(PROCESS)ที่ดี ...แม้ว่าผลลัพธ์วันนี้ยังไม่ดี จะขอให้เชื่อมั่น และมั่นใจ ในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่ดี และมีคุณภาพ ว่าสักวันหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ดีจะต้องตามมา อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากบางท่านมีกระบวนการที่ไม่ดี แต่ดันโชคช่วยมีผลงานที่ดี ก็อย่าได้เบาใจ จะขอให้ จงระมัดระวัง ว่าผลลัพธ์หรือลูกค้าที่ดีนั้น จะอยู่กับท่านได้ไม่นาน หรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปก็เป็นได้ เพราะว่าดวงที่ดี จะไม่มาช่วยท่านอยู่บ่อยๆหรอก สรุปคือ ... "กระบวนการดี ผลลัพธ์ดีแน่ กระบวนการไม่ดี ผลลัพธ์ไม่แน่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่าบ้าผลลัพธ์มากจนเกินไป สิ่งสำคัญคือการพัฒนาการทำงาน ไม่ใช่ทำทุกทางเพื่อความสำเร็จ สำเร็จแล้วมิใช่เอาแต่ทำบุญหวังโชค หากต้องพัฒนาตนให้ก้าวต่อไปด้วย จึงจะมั่นคง" ปล.ต่อยอดความคิดจ...

Ben Bernanke : พี่เหม่ง

Ben Bernanke เป็นบุคคลที่ผมชอบเขียนล้อเลียนขำขำ โดยเรียกว่า"พี่เหม่ง" ... เบนันเก้เป็นประธานFedที่รับไม้ต่อจากนายอลัน กรีนสแปน ซึ่งดำรงตำแหน่งเกือบ 20ปี บุคคลที่นักธุรกิจชาวUsกล่าวยกย่องถึงขนาดที่ว่าเป็นเทวดามาโปรด เพราะสามารถทำให้เศรษฐกิจus เติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด อย่างไรก็ดีไม่มีอะไรจะฝืนธรรมชาติได้ การโตอย่างต่อเนื่องมันต้องมีจุดย่อตัวบ้าง แต่ในขณะนั้นเศรษฐกิจus เติบโต เติบโต เติบโต จากมาตรการของนายกรีนสแปน ที่สำคัญก็คือการลดอัตราดอกเบี้ย เมื่อโตอย่างไม่หยุดพัก ก็เหมือนฟองสบู่ลอยล่องรอวันแตก จนกระทั่งพี่เหม่งของผมเข้ามารับช่วงต่อ ฟองสบู่ก็แตกโพล๊ะ พอดิบพอดี -_-" พี่เหม่งของผมก็เลยรับความซวยนี้ไปเต็มๆ ...อย่างไรก็ดีไม้เด็ดของเฮียอย่างQe ถือเป็นการคิดนอกกรอบเพื่อการแก้วิกฤติแบบนึกไม่ถึงเลยทีเดียว จึงทำให้ในปัจจุบันUs สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตนั้นมาได้ด้วยเงินร้อนๆจากQe 2557ม.ค. ,เฮียกำลังจะหมดวาระ โดยมีแคนดิเดตเช่น ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส  และ เจเน็ต เยลเลน ที่จะเข้ามารับช่วงต่อ ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อชื่นชมเฮียแกจริงๆครับ คงคิดถึงไม่น้อยเลยอะ ..... T-...