ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Carbon credit ,ไม่ใช่เรื่องใหม่ มาอ่าน เข้าใจกันง่ายๆดีกว่า



"ผลกำไรของเอกชน เป็นของเอกชนเจ้านั้นๆ
แต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นั่นเป็นของสังคมโดยรวม"

การทำธุรกิจเพื่อหวังผลกำไร แต่การดำเนินงานนั้นอาจจะส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมเป็นผลลบสู่สังคม หรือทำให้สังคมขาดทุน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิต  เช่น การผลิตรถยนต์นั้น ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการปล่อย Co2 ออกมาสู่ชั้นบรรยากาศโลกได้ จนทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก หรือเรียกว่า greenhouse effect  ....นี่เป็นต้นทุนทางสังคม Benefit-cost เราเรียกการทำให้สังคมเสียหายนี้ว่า Negative externalities แปลเป็นไทยแบบภาษาพูดง่ายๆ ก็คือ การประกอบธุรกิจเพื่อหวังผลกำไรของเอกชน(หรืออุตสาหกรรมต่างๆ) กำไรเป็นของเอกชน ซึ่งเป็นเรื่องภายในของคุณ แต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสังคมนั้นเสียหาย ซึ่งก่อผลกระทบสู่ภายนอก

ในปี 2005 ภายหลังที่ บิล คลินตัน ออกมารณรงค์เรื่องโลกเขียว (รักษาสิ่งแวดล้อม) สถิติจากWorld Resources  ระบุว่า
สหรัฐฯพี่ใหญ่เป็นคนปล่อยCo2สูงสุดปีละ 5.7 พันล้านตัน
อันดับ 2 คือจีน 3.4 พันล้านตัน
อันดับ 3 คือ รัสเซีย 1.5 พันล้านตัน
ญี่ปุ่น 1.2 พันล้านตัน อังกฤษ 558 ล้านตัน
ส่วนไทย 172 ล้านตัน

อย่างไรก็ตามการประกอบธุรกิจนั้นยังคงต้องดำเนินกันต่อไป เพราะเป็นเรื่องของทุนนิยม เรื่องของปากท้อง  ดังนั้นผลเสียนี้ ก็ยังจะคงเกิดขึ้นเป็นเงาตามตัวกันต่อไปไม่จบสิ้น และก็คงจะยิ่งมากๆขึ้นๆไปเรื่อย ตามกระแสของบริโภคนิยม

Carbon Credit เป็นมาตรการที่เกิดขึ้นเพื่อจัดการเรื่องนี้ให้สังคมเกิดความสมดุลมากยิ่งขึ้น คำว่าสมดุลในที่นี้ ก็คือ เอกชนจะยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ภายในขอบเขตที่มีNegative externalities หรือ ส่งCo2 ที่ปล่อยสู่สังคมภายในปริมาณที่เหมาะสม

ส่วนสังคมที่ไม่ได้รับผลกำไรอะไรจากเอกชน แต่จำต้องรับผลNegative externalities เริ่มแรกนั้นก็ต้องยอมรับกันก่อนว่า มันเป็นกิจกรรมธุรกิจที่ต้องดำเนินกันต่อไป หากผลลบนั้นมีปริมาณ Co2 ที่เหมาะสม สังคมซึ่งตัวแทนก็คือภาครัฐ จะได้รับเงินจากการคำนวณ Carbon Credit ตีมูลค่าออกมาเป็นยอดเท่าไรๆ เสมือนกับเป็นการคำนวณภาษีที่เรียกเก็บจากเอกชนคนที่ทำให้เกิดNegative externalities ....หากปริมาณ Co2 เกินขอบเขตในระดับที่เหมาะสม เรทในการเรียกเก็บ Carbon credit ก็จะเป็นอัตราเร่งตามความเสียหายที่สังคมได้รับ และภาษีนั้นก็จะนำมาเยียวยาสิ่งแวดล้อมหรือใช้ในการพัฒนาสังคมอีกทีหนึ่ง

ในเมื่อในเรื่องนี้มีเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง สิ่งที่คนที่ไม่ดีพึงกระทำ ก็คือ การโกง
โกงใคร ก็คือ โกงสังคม
เงินเข้ากระเป๋า ตัวเอง , Co2 เข้าสู่สังคม(โลก)
ที่จริงแล้วเอกชนก็มีผลประโยชน์ทางอ้อม(Indirect Benefit) จาก สังคม จากสิ่งแวดล้อม จากสุขภาพของพนักงาน ...ฯลฯ
แต่ก็อย่างว่าเถอะครับ พวกเจ้าของโรงงานหรือผู้บริหารที่เป็นคนปล่อยCo2สู่สังคมในระแวกนั้น ไม่มีทางที่จะมีบ้าน หรือที่พักอาศัยในบริเวณนั้นอย่างแน่นอน

แม้ในจุดที่สมดุล เราควรสร้างผลประโยชน์ร่วม (Co-benefit) เพื่อสิ่งที่ดีที่สุด เพราะเชื่อว่าทุกคนล้วนต้องการสิ่งแวดล้อมหรืออากาศที่บริสุทธิ์

ดังนั้น ถึงแม้จะมีมาตรการcarbon credit ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ทำได้แค่เยียวยา และเชื่อว่า สังคมก็ยังคงจะแย่ลงๆเพราะมีConflict of interestกันอยู่

ต้นเหตุของปัญหาของสังคมจริงๆก็อาจจะเป็นเรื่องที่ว่า "เรารักกันมากพอมั้ย"
เราพอจะรักผลประโยชน์ของสังคมมากกว่าผลประโยชน์ตัวเองได้มั้ย
เราสามารถให้ได้มากกว่าที่สังคมจะสูญเสียได้หรือเปล่า,
ถ้าเราได้ผลประโยชน์จากสังคมมากพอแล้ว แม้ว่าจะไม่ได้ปล่อยCo2ก็ตาม แต่ก็อาจจะเป็นผู้ที่ยั่วยุมอมเมาเยาวชนในทางวัตถุนิยม หรือกามารมณ์อยู่ก็ได้ แล้วเราจะแก้ไขปัญหา ปรับปรุง ลด เลิก และ/หรือคืนสู่สังคมได้อย่างไร
.....เช่นนี้ หลายปัญหาในโลกอันวุ่นวายก็น่าจะคลี่คลายด้วยดีในที่สุด ด้วยความรัก รวมถึงปรารถนาดีที่มีให้กันนะครับ

ปล.โลกสวยไปเปล่าเนี่ย อิอิ
ปล.2เวลาน้อย ไม่ได้เรียบเรียง คำพูดไม่สวย เขียนเรื่อยๆแล้วpost ไม่ได้อัพนานมากกก..ขอสักนิด

^^

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร  ? บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ There is no such thing as a free lunch การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity) การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin) การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Margina

กระบวนการ(process) สำคัญกว่า ผลลัพธ์(output)

ฝากถึงน้องๆที่เรียนหรือทำงานสายการตลาด หรืองานใดที่มีเป้าหมาย(goal)เป็นสำคัญ รวมถึงท่านผู้บริหาร.... อย่าได้ไปสนใจผลลัพธ์[output] เป้าหมายหรือคะแนนที่ได้ มากจนเกินไป หลายครั้งที่ผลลัพธ์นั้นเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ หรือต้องใช้โชคช่วย(ดวง) แต่ถ้าเรามีการทำงานหรือมีกระบวนการทำงาน(PROCESS)ที่ดี ...แม้ว่าผลลัพธ์วันนี้ยังไม่ดี จะขอให้เชื่อมั่น และมั่นใจ ในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่ดี และมีคุณภาพ ว่าสักวันหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ดีจะต้องตามมา อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากบางท่านมีกระบวนการที่ไม่ดี แต่ดันโชคช่วยมีผลงานที่ดี ก็อย่าได้เบาใจ จะขอให้ จงระมัดระวัง ว่าผลลัพธ์หรือลูกค้าที่ดีนั้น จะอยู่กับท่านได้ไม่นาน หรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปก็เป็นได้ เพราะว่าดวงที่ดี จะไม่มาช่วยท่านอยู่บ่อยๆหรอก สรุปคือ ... "กระบวนการดี ผลลัพธ์ดีแน่ กระบวนการไม่ดี ผลลัพธ์ไม่แน่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่าบ้าผลลัพธ์มากจนเกินไป สิ่งสำคัญคือการพัฒนาการทำงาน ไม่ใช่ทำทุกทางเพื่อความสำเร็จ สำเร็จแล้วมิใช่เอาแต่ทำบุญหวังโชค หากต้องพัฒนาตนให้ก้าวต่อไปด้วย จึงจะมั่นคง" ปล.ต่อยอดความคิดจ

My Hero

ผมเคยได้ดูภาพยนต์ที่ดีมากๆเรื่องหนึ่งชื่อว่า Batman-The Dark Knight และได้สรุปความลักษณะของฮีโร่คนนี้ได้ว่าเป็นบุคคลประเภท ปิดทองหลังพระ (ตามพระราชดำรัสของในหลวงที่เคารพยิ่งของเรา ที่หวังให้คนไทยเป็นคนดีให้ได้เช่นนี้บ้าง)กล่าวคือ เป็นผู้ซึ่งมีความต้องการช่วยเหลือผู้คนและขจัดความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นในสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆรวมทั้งชื่อเสียงและความมีหน้ามีตาในสังคม อีกทั้งยังได้ลงทุนลงแรงมากมายเพื่อให้สำเร็จตามประสงค์ของตนที่อยากได้สังคมที่ดีขึ้นกว่าที่เป็น ในชีวิตจริงนั้นคงเป็นไปได้ยากที่ในสังคมหนึ่งๆ หรือแม้แต่โลกทั้งใบกลมๆนี้จะมีคนเฉกเช่น Batman เพราะการทำดีในสังคมที่มีแต่อวิชชาหรือความโลภเป็นที่ตั้งนั้น กลับเป็นเรื่องยากที่ผู้ต้องการทำความดีที่อาจต้องมีการเสียสละเกิดขึ้น ซึ่งการเสียสละนี้จะเป็นต้นทุนหรือสิ่งที่เป็นผลเสียต่อคนที่ตั้งใจทำความดีนั้นให้ล้มเลิกความคิดไป หากแต่สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังจากสื่อต่างๆนั้นการทำความดีต่างๆที่พบเจอ 90%หรือมากกว่านั้นเสียอีก คนที่ทำดีผู้นั้นเขาทราบดีว่าเขาจะได้ออกสื่อหรือแม้แต่เป็นผู้เชิญชวนสื่อให้มาทำข่าวในเรื่องที่เขาทำความดีด้วยตัวเอง ซึ่งพบ