ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตถตา , greed & fear




โลกนี้ไม่ใช่ของเรา มันเป็นไปตามสิ่งที่มันควรจะเป็น เข้าใจและทำตามมันไป ท่านจะเริ่มคุ้นเคยกับมัน ว่ามันก็เป็นเช่นนั้นเอง หรือเรียกว่า ตถตา

greed กับ fear ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัยมันไม่เคยเปลี่ยน ถ้าท่านเข้าใจบังคับตัวเองได้ ก็คงไม่อยากจะพยายามขุดสมบัติซื้อต่ำสุดขายแพงสุดหรอกเพราะมันยากเกินไป , greed กับ fearมันจะเกิดขึ้นซ้ำๆจนมีรูปแบบของมัน น้อยครั้งจะมี Surprise หรือ false เกิดให้เห็นบ้างในบางโอกาสซึ่งไม่มาก สุดท้ายแล้วก็แค่ยอมรับมันก็แค่นั้นเอง

จากที่กล่าวมาข้างต้นในเมื่อมนุษย์ไม่เคยเปลี่ยน greed กับ fear ก็ไม่เปลี่ยน แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมันไม่แน่นอน 100%อยู่แล้ว ดังนั้นเราจึงควรเลือกตัดสินใจด้วยความเป็นไปได้จากสิ่งที่มันเคยเป็นแล้วผลต่อเนื่องที่เกิดขึ้นว่ามันควรจะเป็นเช่นไร ดีกว่ามาตัดสินใจด้วยการวัดดวง ด้วยความรู้สึกแม้ท่านจะมีประสบการณ์การลงทุนมานานแล้วก็ตาม(หากไม่กึ๋นจริง-1ในล้าน) แบบนี้ก็เหมือนยึดตัวเองแล้วให้โลกมาเป็นแบบที่ท่านต้องการ ซึ่งมันก็ไม่เคยอยากเอาใจท่านสักเท่าไรหรอก จริงมั้ยครับ

ความหมายของ ตถตา : wiki
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%95%E0%B8%B2

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร  ? บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ There is no such thing as a free lunch การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity) การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin) การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Mar...

กระบวนการ(process) สำคัญกว่า ผลลัพธ์(output)

ฝากถึงน้องๆที่เรียนหรือทำงานสายการตลาด หรืองานใดที่มีเป้าหมาย(goal)เป็นสำคัญ รวมถึงท่านผู้บริหาร.... อย่าได้ไปสนใจผลลัพธ์[output] เป้าหมายหรือคะแนนที่ได้ มากจนเกินไป หลายครั้งที่ผลลัพธ์นั้นเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ หรือต้องใช้โชคช่วย(ดวง) แต่ถ้าเรามีการทำงานหรือมีกระบวนการทำงาน(PROCESS)ที่ดี ...แม้ว่าผลลัพธ์วันนี้ยังไม่ดี จะขอให้เชื่อมั่น และมั่นใจ ในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่ดี และมีคุณภาพ ว่าสักวันหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ดีจะต้องตามมา อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากบางท่านมีกระบวนการที่ไม่ดี แต่ดันโชคช่วยมีผลงานที่ดี ก็อย่าได้เบาใจ จะขอให้ จงระมัดระวัง ว่าผลลัพธ์หรือลูกค้าที่ดีนั้น จะอยู่กับท่านได้ไม่นาน หรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปก็เป็นได้ เพราะว่าดวงที่ดี จะไม่มาช่วยท่านอยู่บ่อยๆหรอก สรุปคือ ... "กระบวนการดี ผลลัพธ์ดีแน่ กระบวนการไม่ดี ผลลัพธ์ไม่แน่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่าบ้าผลลัพธ์มากจนเกินไป สิ่งสำคัญคือการพัฒนาการทำงาน ไม่ใช่ทำทุกทางเพื่อความสำเร็จ สำเร็จแล้วมิใช่เอาแต่ทำบุญหวังโชค หากต้องพัฒนาตนให้ก้าวต่อไปด้วย จึงจะมั่นคง" ปล.ต่อยอดความคิดจ...

SET : Breakaway gap-Runaway gap-Common gap : 5-8-11

SET เปิด gapขนาดใหญ่ ผมหวังว่ามันจะเป็นแค่ common gap ซึ่งหมายความว่ามันจะกลับไปเล่นแถวๆ1125-1150 ได้ หากโชคร้ายเป็น runaway gap ก็จะลงไปปิด gapก่อนหน้าที่เป็น breakaway gapให้กลายเป็น common gapที่ 1042 จุด ซึ่งจะทำให้ระดับราคาแถวๆเดือน7 โดยมี highที่ 1148กลายเป็นเกาะร้างไป(island)ครับ