ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาวะหุ้น SET

  วันนี้ราคาทองคำไทย ปรับบวกเพิ่มขึ้นประมาณ 150 บาท ด้วยอานิสงค์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างรุนแรง เพราะฝรั่งเทขายหุ้นไทยอย่างหนัก และมีการนำเงินบาทแลกเป็นเงินสกุลต่างประเทศเพื่อนำออกนอกประเทศ

  ในปีที่แล้ว SET มีผลตอบแทนเป็นอันดับ 2 ในเอเซีย กล่าวได้ง่ายๆว่าดัชนีขึ้นมาสูง จึงเป็นธรรมดาที่จะเกิดแรงขายทำกำไร อย่างไรก็ดีวันนี้ SET ดิ่งลงแรง ลดลง 4.26% หนักสุดในภูมิภาค ในขณะที่ปริมาณซื้อขายระดับ 3 หมื่นล้านซึ่งถือว่าไม่หนาแน่น เจาะเข้ามาดูพฤติกรรมในช่วงระหว่างการซื้อขาย พอจะสังเกตุได้ว่ามีคนตั้งรอซื้อ (Bid)เท่าไรก็ ขายหมด ขายหมด เหมือนกับตั้งใจว่าวันนี้ต้องขายให้ได้ในปริมาณที่ตั้งใจไว้ให้ได้ โดยไม่เกี่ยงราคา ทั้งๆที่ปัจจัยที่กดดันตลาดทั่วโลกที่หยิบยกมานั้นก็เป็นเรื่องเดียวกัน นั่นคือ ความกังวลว่าจีนจะออกมาตรการรัดเข็มขัดทางเศรษกิจเพิ่มขึ้น

  ในเมื่อ SET บ้านเราลงแรงมากกว่าเพื่อนบ้านเหลือเกิน ผมก็เลยอาจตั้งข้อสังเกตุเหตุการณ์เฉพาะภายในบ้านเราว่า จะเกิด"อะไร" ขึ้นกับบ้านเมืองเรา? สัมพันธ์กับเรื่องการเมืองหรือไม่? หากแต่ว่ามีเฉพาะเรื่องของการชุมนุมของพันธมิตรฯซึ่งก็เคยพิสูจน์ไปแล้วในอดีต ว่าไม่ได้ส่งผลทำให้ SET ลง เผลอๆขึ้นแรงด้วยซ้ำไป ถ้าเพียงจะมองในเรื่องพื้นฐานเศรษฐกิจ ทั้ง ธปท และกูรูทางเศรษฐกิจก็ออกมาให้ข่าวแล้วว่าปีนี้พื้นฐานแกร่ง เติบโตต่อเนื่อง  ที่กล่าวมาทั้งหมดผมคงบอกไม่ได้(อยู่แล้ว)ว่า"อะไรจะเกิดขึ้น" เพียงแต่เคยเรียนไว้เสมอๆในเรื่อง Hot money พวกเราเองไม่มีทางรู้ได้ก่อนว่าคนที่กำเงินเค้าจะทำอะไร หรือรู้อะไร หรือบางครั้งพวกเรารู้ทีหลังก็อาจเป็นเหตุผลไม่จริงก็เป็นได้ แต่สิ่งที่จะบอกเราได้อย่างแน่นอน คือ การซื้อ-ขายสุทธิ รวมทั้งค่าเงินที่จะมีแนวโน้มไปในทิศทางใด ดังนั้นหากจะงดอ่านข่าวแล้วมาดูการเคลื่อนไหวของตัวเลขอย่างเดียว บางครั้งคุณอาจเข้าใจอะไรๆได้ดีกว่า การเชื่อมโยงเหตุผลทางเศรษฐกิจมากมาย

  กลยุทธ์ : จับตาทิศทางค่าเงินบาทหากมี Rebound เนื่องจากลงมาแรงแต่ค่าเงินบาทไม่แข็งค่าขึ้นให้ถือโอกาสลดพอร์ทต่อไป และ wait and see จนกว่าจะมีข่าวสารสำคัญออกมา หรือการกลับเข้ามาซื้อสุทธิสำหรับกองทุนและฝรั่ง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร  ? บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ There is no such thing as a free lunch การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity) การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin) การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Mar...

กระบวนการ(process) สำคัญกว่า ผลลัพธ์(output)

ฝากถึงน้องๆที่เรียนหรือทำงานสายการตลาด หรืองานใดที่มีเป้าหมาย(goal)เป็นสำคัญ รวมถึงท่านผู้บริหาร.... อย่าได้ไปสนใจผลลัพธ์[output] เป้าหมายหรือคะแนนที่ได้ มากจนเกินไป หลายครั้งที่ผลลัพธ์นั้นเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ หรือต้องใช้โชคช่วย(ดวง) แต่ถ้าเรามีการทำงานหรือมีกระบวนการทำงาน(PROCESS)ที่ดี ...แม้ว่าผลลัพธ์วันนี้ยังไม่ดี จะขอให้เชื่อมั่น และมั่นใจ ในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่ดี และมีคุณภาพ ว่าสักวันหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ดีจะต้องตามมา อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากบางท่านมีกระบวนการที่ไม่ดี แต่ดันโชคช่วยมีผลงานที่ดี ก็อย่าได้เบาใจ จะขอให้ จงระมัดระวัง ว่าผลลัพธ์หรือลูกค้าที่ดีนั้น จะอยู่กับท่านได้ไม่นาน หรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปก็เป็นได้ เพราะว่าดวงที่ดี จะไม่มาช่วยท่านอยู่บ่อยๆหรอก สรุปคือ ... "กระบวนการดี ผลลัพธ์ดีแน่ กระบวนการไม่ดี ผลลัพธ์ไม่แน่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่าบ้าผลลัพธ์มากจนเกินไป สิ่งสำคัญคือการพัฒนาการทำงาน ไม่ใช่ทำทุกทางเพื่อความสำเร็จ สำเร็จแล้วมิใช่เอาแต่ทำบุญหวังโชค หากต้องพัฒนาตนให้ก้าวต่อไปด้วย จึงจะมั่นคง" ปล.ต่อยอดความคิดจ...

Ben Bernanke : พี่เหม่ง

Ben Bernanke เป็นบุคคลที่ผมชอบเขียนล้อเลียนขำขำ โดยเรียกว่า"พี่เหม่ง" ... เบนันเก้เป็นประธานFedที่รับไม้ต่อจากนายอลัน กรีนสแปน ซึ่งดำรงตำแหน่งเกือบ 20ปี บุคคลที่นักธุรกิจชาวUsกล่าวยกย่องถึงขนาดที่ว่าเป็นเทวดามาโปรด เพราะสามารถทำให้เศรษฐกิจus เติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด อย่างไรก็ดีไม่มีอะไรจะฝืนธรรมชาติได้ การโตอย่างต่อเนื่องมันต้องมีจุดย่อตัวบ้าง แต่ในขณะนั้นเศรษฐกิจus เติบโต เติบโต เติบโต จากมาตรการของนายกรีนสแปน ที่สำคัญก็คือการลดอัตราดอกเบี้ย เมื่อโตอย่างไม่หยุดพัก ก็เหมือนฟองสบู่ลอยล่องรอวันแตก จนกระทั่งพี่เหม่งของผมเข้ามารับช่วงต่อ ฟองสบู่ก็แตกโพล๊ะ พอดิบพอดี -_-" พี่เหม่งของผมก็เลยรับความซวยนี้ไปเต็มๆ ...อย่างไรก็ดีไม้เด็ดของเฮียอย่างQe ถือเป็นการคิดนอกกรอบเพื่อการแก้วิกฤติแบบนึกไม่ถึงเลยทีเดียว จึงทำให้ในปัจจุบันUs สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตนั้นมาได้ด้วยเงินร้อนๆจากQe 2557ม.ค. ,เฮียกำลังจะหมดวาระ โดยมีแคนดิเดตเช่น ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส  และ เจเน็ต เยลเลน ที่จะเข้ามารับช่วงต่อ ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อชื่นชมเฮียแกจริงๆครับ คงคิดถึงไม่น้อยเลยอะ ..... T-...