ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาวะหุ้นและทอง 9-2-2010

SETลงไป 10 จุด แล้วก็เด้งขึ้นมาเหลือแค่ 3 จุดออกอาการวิ่งเล่นซะอย่างนั้น สรุปสุดท้ายฝรั่งกับกองทุนขาย และProp.tradeซื้อ แถมยัง Short Future รวมกันประมาณ 2000 สัญญา ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ดีนัก...... เพื่อให้เข้าใจในข้อมูลสรุปปริมาณซื้อ-ขาย จะขออธิบายเฉพาะการลงทุนของนักลงทุนในตลาดบ้านเราก่อนนะครับ

นักลงทุนใน ตลาดแบ่งเป็น 4ประเภท คือ ฝรั่ง,กองทุน,Prop.trade และรายย่อย คนที่ผมชอบให้ซื้อมากที่สุดก็คือ กองทุนเพราะโดยมากจะถือลงทุนยาวเนื่องจากมีกฏระเบียบในการซื้อขายมากมายทำให้การเคลื่อนไหวเงินทุนไม่อิสระเสรีหรือแคล่วคล่องว่องไวนัก รองลงมาคือฝรั่ง คนนี้สำคัญมากเพราะจะเป็นคนที่ให้ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของประเทศหากการซื้อขายของเขาอยู่ในฝั่งซื้อสุทธิ (ทั้งๆที่เราก็รู้ๆกันว่าเป็นฝรั่งหัวดำ,เนื่องจากมีข้อมูลรู้ดีรู้เร็วกว่านักลงทุนไทยซะอีก ) ส่วนคนที่ไม่อยากให้ซื้อเลยก็คือ Prop.trade เพราะรายนี้ถือสั้นมากๆอย่างนานไม่น่าเกิน 3 วัน และจะเป็นคนที่ออกตัวเร็วมากที่สุดเพราะต้นทุนค่าคอมฯแทบไม่มี หากวนั ไหน Prop.trade ซื้อหนักก็ให้ทราบไว้เลยว่าอาจมีการเทขายทำกำไรออกมามากเช่นกัน คือเป็นคนที่แสวงหากำไรระยะสั้น(สุดๆ) ส่วนนักลงทุนในประเทศหรือรายย่อยไม่ต้องอธิบายมากครับ 99% ซื้อตามอารมณ์ตลาด

ระยะนี้ตลาดออกอาการลงซ้ำซากมีเด้งขึ้นมาหลอกล่อให้เราเข้าไปซื้อบ้าง หากเราเห็นว่าราคาถูกแล้ว ระวังให้ดีจะได้เจอราคาที่ถูกกว่าในเวลาอันสั้น เพราะปัจจัยทางการเมืองไทยถือว่ามีความเสี่ยงสูงมากๆในช่วงเดือน กพ. เด้งขึ้นมามีหุ้นอยู่ก็น่าขาย หรือทำการ short against port เพื่อหลีกหนีความเสี่ยง ที่ Out of Prediction คือเป็นความเสี่ยงที่ยากเกินจะคาดเดา

ส่วนนักลงทุนระยะสั้น หรือ ฝั่ง TFEX อาจจะชอบก็ได้นะ เพราะตลาดมีความผันผวนแบบนี้ มีGapให้ทำกำไรได้ทั้งฝั่ง Long และ Short ส่วน GF โอกาสหน้าค่อยมาเล่านะครับ ตอนนี้มึนๆกับราคาทอง เพราะว่ามีข่าวสารที่เกี่ยวข้องมากเกินไปครับ -_-“

ปล.บทความภาวะตลาดหุ้นและทอง จัดทำและส่งทางE-mailเป็นประจำทุกเช้า และจะเผยแพร่ทางBlogอย่างเร็วหลังปิดตลาดภาคเช้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร  ? บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ There is no such thing as a free lunch การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity) การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin) การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Margina

กระบวนการ(process) สำคัญกว่า ผลลัพธ์(output)

ฝากถึงน้องๆที่เรียนหรือทำงานสายการตลาด หรืองานใดที่มีเป้าหมาย(goal)เป็นสำคัญ รวมถึงท่านผู้บริหาร.... อย่าได้ไปสนใจผลลัพธ์[output] เป้าหมายหรือคะแนนที่ได้ มากจนเกินไป หลายครั้งที่ผลลัพธ์นั้นเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ หรือต้องใช้โชคช่วย(ดวง) แต่ถ้าเรามีการทำงานหรือมีกระบวนการทำงาน(PROCESS)ที่ดี ...แม้ว่าผลลัพธ์วันนี้ยังไม่ดี จะขอให้เชื่อมั่น และมั่นใจ ในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่ดี และมีคุณภาพ ว่าสักวันหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ดีจะต้องตามมา อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากบางท่านมีกระบวนการที่ไม่ดี แต่ดันโชคช่วยมีผลงานที่ดี ก็อย่าได้เบาใจ จะขอให้ จงระมัดระวัง ว่าผลลัพธ์หรือลูกค้าที่ดีนั้น จะอยู่กับท่านได้ไม่นาน หรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปก็เป็นได้ เพราะว่าดวงที่ดี จะไม่มาช่วยท่านอยู่บ่อยๆหรอก สรุปคือ ... "กระบวนการดี ผลลัพธ์ดีแน่ กระบวนการไม่ดี ผลลัพธ์ไม่แน่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่าบ้าผลลัพธ์มากจนเกินไป สิ่งสำคัญคือการพัฒนาการทำงาน ไม่ใช่ทำทุกทางเพื่อความสำเร็จ สำเร็จแล้วมิใช่เอาแต่ทำบุญหวังโชค หากต้องพัฒนาตนให้ก้าวต่อไปด้วย จึงจะมั่นคง" ปล.ต่อยอดความคิดจ

Ben Bernanke : พี่เหม่ง

Ben Bernanke เป็นบุคคลที่ผมชอบเขียนล้อเลียนขำขำ โดยเรียกว่า"พี่เหม่ง" ... เบนันเก้เป็นประธานFedที่รับไม้ต่อจากนายอลัน กรีนสแปน ซึ่งดำรงตำแหน่งเกือบ 20ปี บุคคลที่นักธุรกิจชาวUsกล่าวยกย่องถึงขนาดที่ว่าเป็นเทวดามาโปรด เพราะสามารถทำให้เศรษฐกิจus เติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด อย่างไรก็ดีไม่มีอะไรจะฝืนธรรมชาติได้ การโตอย่างต่อเนื่องมันต้องมีจุดย่อตัวบ้าง แต่ในขณะนั้นเศรษฐกิจus เติบโต เติบโต เติบโต จากมาตรการของนายกรีนสแปน ที่สำคัญก็คือการลดอัตราดอกเบี้ย เมื่อโตอย่างไม่หยุดพัก ก็เหมือนฟองสบู่ลอยล่องรอวันแตก จนกระทั่งพี่เหม่งของผมเข้ามารับช่วงต่อ ฟองสบู่ก็แตกโพล๊ะ พอดิบพอดี -_-" พี่เหม่งของผมก็เลยรับความซวยนี้ไปเต็มๆ ...อย่างไรก็ดีไม้เด็ดของเฮียอย่างQe ถือเป็นการคิดนอกกรอบเพื่อการแก้วิกฤติแบบนึกไม่ถึงเลยทีเดียว จึงทำให้ในปัจจุบันUs สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตนั้นมาได้ด้วยเงินร้อนๆจากQe 2557ม.ค. ,เฮียกำลังจะหมดวาระ โดยมีแคนดิเดตเช่น ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส  และ เจเน็ต เยลเลน ที่จะเข้ามารับช่วงต่อ ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อชื่นชมเฮียแกจริงๆครับ คงคิดถึงไม่น้อยเลยอะ ..... T-