ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาวะหุ้นและทอง 10-2-2010

ปัจจัยความคลี่คลายปัญหาในหนี้สาธารณะของกรีซ ซึ่งจะได้รับความช่วยเหลือด้วยมาตรการทางการเงินของสหภาพยุโรป ส่งผลให้ ยูโรแข็ง--> $ อ่อน--> และในที่สุดทองคำก็สามารถ Break 1075 ขึ้นมาได้ เป็นแนวต้านราคาซึ่งทองไม่สามารถผ่านขึ้นมาได้ถึงสองครั้ง (Double Top) ณ.จุดนี้อาจทำให้เป็นจุดกลับของราคาทองให้เข้าสู่ขาขึ้นในระยะสั้น-กลาง โดยมีแนวรับที่ 1075 หากหลุดก็รอดูไม่เข้าซื้อให้เวลาสักครึ่งวันก็ได้ครับ

ด้วยปัจจัยเดียวกันข้างต้น และราคาน้ำมันที่ rebound ขึ้นมาประมาณ 2 $ (Commodityมาพร้อมกับยูโรที่แข็งขึ้น) ส่งผลให้ Dow สามารถกลับขึ้นมายืนเหนือ 10,000 จุดได้อีกครั้ง ….ย้อนกลับมาที่บ้านเราฝรั่งและสถาบันยังคงขายสุทธิ แถม Short สุทธิสัญญาFutureอีก ราวๆ 1400 ทำให้วันนี้น่าจับตามองว่า SET บ้านเราจะร่วงสวนทางกับปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้นหรือไม่ ในความเข้าใจผม ณ.ช่วงนี้ คือ เค้าพยายามออกของที่มีอยู่พร้อมทั้ง Short Future เพื่อทำกำไรในตลาดขาลงที่ลงมาเนื่องจากแรงขายของเขาเอง จนถึงที่สุดตลาดคลี่คลายแล้ว ก็จะกลับเข้ามาช้อนซื้อหุ้นในราคาถูกอีกครั้งไม่ว่าจะเกิดPanic Sell หรือไม่ พร้อม ปิด Short และเปิด Long Future เพื่อตอบรับกับผลประกอบการใน บ. ในตลาดซึ่งไม่ได้เลวร้ายอะไร ที่จริงแล้วส่วนใหญ่ดีขึ้น แต่ราคาหุ้นขึ้นไม่ได้เพราะปัจจัยการเมืองกดดันเป็นหลัก

หุ้นที่แนะนำให้ลงทุนไม่มี แต่หุ้นที่เก็งกำไรได  PTTCH (ยนื่ เรื่องเข้าศาลกันสนุกสนาน) ,QH,(ซอื้ ตามราคายืนเหนือ2.20) , PRECHA , TOP (ยืนเหนือ 40 บาท)

ปล.บทความภาวะตลาดหุ้นและทอง จัดทำและส่งทางE-mailเป็นประจำทุกเช้า และจะเผยแพร่ทางBlogอย่างเร็วหลังปิดตลาดภาคเช้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร  ? บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ There is no such thing as a free lunch การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity) การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin) การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Margina

กระบวนการ(process) สำคัญกว่า ผลลัพธ์(output)

ฝากถึงน้องๆที่เรียนหรือทำงานสายการตลาด หรืองานใดที่มีเป้าหมาย(goal)เป็นสำคัญ รวมถึงท่านผู้บริหาร.... อย่าได้ไปสนใจผลลัพธ์[output] เป้าหมายหรือคะแนนที่ได้ มากจนเกินไป หลายครั้งที่ผลลัพธ์นั้นเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ หรือต้องใช้โชคช่วย(ดวง) แต่ถ้าเรามีการทำงานหรือมีกระบวนการทำงาน(PROCESS)ที่ดี ...แม้ว่าผลลัพธ์วันนี้ยังไม่ดี จะขอให้เชื่อมั่น และมั่นใจ ในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่ดี และมีคุณภาพ ว่าสักวันหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ดีจะต้องตามมา อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากบางท่านมีกระบวนการที่ไม่ดี แต่ดันโชคช่วยมีผลงานที่ดี ก็อย่าได้เบาใจ จะขอให้ จงระมัดระวัง ว่าผลลัพธ์หรือลูกค้าที่ดีนั้น จะอยู่กับท่านได้ไม่นาน หรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปก็เป็นได้ เพราะว่าดวงที่ดี จะไม่มาช่วยท่านอยู่บ่อยๆหรอก สรุปคือ ... "กระบวนการดี ผลลัพธ์ดีแน่ กระบวนการไม่ดี ผลลัพธ์ไม่แน่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่าบ้าผลลัพธ์มากจนเกินไป สิ่งสำคัญคือการพัฒนาการทำงาน ไม่ใช่ทำทุกทางเพื่อความสำเร็จ สำเร็จแล้วมิใช่เอาแต่ทำบุญหวังโชค หากต้องพัฒนาตนให้ก้าวต่อไปด้วย จึงจะมั่นคง" ปล.ต่อยอดความคิดจ

My Hero

ผมเคยได้ดูภาพยนต์ที่ดีมากๆเรื่องหนึ่งชื่อว่า Batman-The Dark Knight และได้สรุปความลักษณะของฮีโร่คนนี้ได้ว่าเป็นบุคคลประเภท ปิดทองหลังพระ (ตามพระราชดำรัสของในหลวงที่เคารพยิ่งของเรา ที่หวังให้คนไทยเป็นคนดีให้ได้เช่นนี้บ้าง)กล่าวคือ เป็นผู้ซึ่งมีความต้องการช่วยเหลือผู้คนและขจัดความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นในสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆรวมทั้งชื่อเสียงและความมีหน้ามีตาในสังคม อีกทั้งยังได้ลงทุนลงแรงมากมายเพื่อให้สำเร็จตามประสงค์ของตนที่อยากได้สังคมที่ดีขึ้นกว่าที่เป็น ในชีวิตจริงนั้นคงเป็นไปได้ยากที่ในสังคมหนึ่งๆ หรือแม้แต่โลกทั้งใบกลมๆนี้จะมีคนเฉกเช่น Batman เพราะการทำดีในสังคมที่มีแต่อวิชชาหรือความโลภเป็นที่ตั้งนั้น กลับเป็นเรื่องยากที่ผู้ต้องการทำความดีที่อาจต้องมีการเสียสละเกิดขึ้น ซึ่งการเสียสละนี้จะเป็นต้นทุนหรือสิ่งที่เป็นผลเสียต่อคนที่ตั้งใจทำความดีนั้นให้ล้มเลิกความคิดไป หากแต่สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังจากสื่อต่างๆนั้นการทำความดีต่างๆที่พบเจอ 90%หรือมากกว่านั้นเสียอีก คนที่ทำดีผู้นั้นเขาทราบดีว่าเขาจะได้ออกสื่อหรือแม้แต่เป็นผู้เชิญชวนสื่อให้มาทำข่าวในเรื่องที่เขาทำความดีด้วยตัวเอง ซึ่งพบ