ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลยุทธ์การบริหารแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าในธุรกิจค้าปลีก [Merchandising Strategies in Electronics Department in Hypermarket]


เกริ่นนำ

ปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าถือเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คน เพื่อใช้ในการอำนวยความสะดวก การทำงานในออฟฟิศ-ในบ้าน ความบันเทิง และการติดต่อ-สื่อสาร เป็นต้น เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องอิเล็กทรอนิคส์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์ที่เห็นได้ในทุกบ้านเป็นธรรมดา เช่น ทีวี ตู้เย็น แม้กระทั่งคอมพิวเตอร์ ซึ่งในสมัยก่อนมีไว้ใช้งานแค่ในออฟฟิศและบ้านผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเท่านั้น เนื่องจากราคาแพง แต่ในปัจจุบันแทบทุกบ้านของคนทั่วไปโดยเฉพาะในชุมชนเมืองต่างมีคอมพิวเตอร์ใช้ บางบ้านก็มีมากกว่าหนึ่งเครื่อง เนื่องจากราคาที่ถูกลง จากการแข่งขันอย่างรุนแรงและรวดเร็วของผู้ผลิต และในทำนองเดียวกันสำหรับ โทรศัพท์มือถือ ในปัจจุบันแม้กระทั่งผู้มีรายได้น้อยหรือผู้ไม่มีรายได้เช่น นักเรียน นักศึกษา ต่างก็มีใช้กันแทบทุกคน

ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าตามข้อมูลจาก Wikipedia.org ระบุว่าเป็นตลาดที่มีผู้นำตลาด (Dominant) คือ บริษัทจากประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ นั่นคือมีลักษณะเป็นตลาดแข่งขันน้อยราย (Oligopoly) อย่างไรก็ดีตามในกระแสของโลกาภิวัตน์ การติดต่อสื่อสาร (Connectivity)เป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีราคาถูก ก่อให้การแข่งขันระหว่างผู้ผลิตรุนแรงมากขึ้น ทั้งจำนวนผู้ผลิตเองก็เพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะตอบสนองกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งมีความหลากหลาย (Diversify) มากขึ้นของผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ก็ถูกผลิตออกมาอย่างมากมายและหลากหลายมากขึ้นเช่นกัน ภายใต้วัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละประเทศ ก็เกิดแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม (Cross-Cultural) ระหว่างกันมากมาย ดังนั้นระหว่างผู้ผลิต หรือระหว่างผู้บริโภค หรือผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างก็มีการพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น (Inter-dependent) เช่น ผู้ผลิตมีการลงทุนร่วมกันเพื่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนที่เป็นอะไหล่ตัวเดียวกันเพื่อใช้ในประกอบกับสินค้าตน แม้ว่าจะเป็นสินค้าต่างชนิดกัน(กระทั่งเป็นสินค้าคู่แข่งกันก็ตามที) ผู้บริโภคมีการแสดงความเห็นต่อผลิตภัณฑ์ที่พอใจและไม่พอใจระหว่างกันเกิดเป็น Mouth-to-Mouth Marketing และผู้ผลิตที่ไม่เคยได้ขายให้กับผู้บริโภคที่ห่างไกลก็สามารถทำได้ผ่าน website เป็นต้น กระแสของโลกาภิวัตน์นั้นทำให้มีการแข่งขันของผู้ผลิตเป็นไปด้วยความรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น ทำให้สภาพตลาดที่ต้องพึ่งพาข้อมูลในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ จากที่มีลักษณะเป็นตลาดแข่งขันน้อยราย เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ตลาดแข่งขันสมบูรณ์มากขึ้นทุกขณะ นวัตกรรม สินค้าที่แปลกใหม่แตกต่างเกิดขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง จากการเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ทางเทคโนโลยีการผลิตได้ง่าย ผู้ผลิตหน้าใหม่ก็เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นเช่นกัน เหล่านี้ส่งผลให้ผลประโยชน์ตกกับผู้บริโภคมากขึ้น เช่น สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกัน คุณภาพใกล้เคียงกันผู้บริโภคจะได้ราคาที่ต่ำที่สุด เป็นต้น

การทำวิเคราะห์แผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้นั้น นอกจากจะต้องมีความรู้ในด้าน ผลิตภัณฑ์ ตลาด กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ภาวะเศรษฐกิจ แล้วยังต้องเข้าใจในกระแสโลกาภิวัฒน์อีกด้วยเพราะมีความเชื่อมโยงต่อกัน

สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งสำหรับวงการค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ การที่บริษัท DELL ผู้ประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการขายตรงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่งถึงมือลูกค้า ได้มีการขยับขยายเพื่อที่จะเพิ่มยอดขายผ่านช่องทางการค้าปลีกมากขึ้น


TESCO-LOTUS & Carrefour

คู่แข่งคนสำคัญของ TESCO-LOTUS ในประเทศไทยก็คือ Carrefour ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกยักษ์ใหญ่ที่มีขนาดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจาก WAL- MART , Carrefour ประกอบธุรกิจค้าปลีกในไทยด้วยขนาดไฮเปอร์มาร์เก็ต* สถานที่ตั้งบางสาขานั้นอยู่ตรงกันข้ามกับ ไฮเปอร์มาร์เก็ตของ TESCO-LOTUS เช่น สาขาพระราม 4 และสาขาพระราม 2 เป็นต้น

*ไฮเปอร์มาร์เก็ต (Hypermarket) = Supermarket + Departmentstore ,Carrefour ให้คำนิยามของไฮเปอร์มาร์เก็ตว่า “มีทุกอย่างในที่เดียว”


รูปแบบของการจัดเรียงสินค้า

จากการออกสำรวจ TESCO-LOTUS และ Carrefour สาขาพระราม 4 ซึ่งเป็นสาขาที่ตั้งอยู่ระแวกศูนย์กลางธุรกิจ มีบริษัทยักษ์ใหญ่และมีชื่อเสียงแวดล้อมมากมาย ในวันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 2552 จะขอสรุปเป็นแนวทางกว้างๆและวิพากษ์แบบอธิบายความ ได้ดังนี้

ข้อสังเกต-การจัดกลุ่มสินค้า

การจัดกลุ่มสินค้าของแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งสองแห่งสำหรับสินค้าทั่วไปให้ความสำคัญกับกลุ่มสินค้าเป็นหลัก (Segment) สามารถจำแนกได้ดังนี้

Category -------> Sub Category -------> Segment -------> Brand

Ex. (กลุ่มโทรทัศน์และเครื่องเล่นDVD) (กลุ่มโทรทัศน์) (กลุ่มโทรทัศน์ LCD) (SONY)

แต่สำหรับสินค้าที่มีราคาสูงมากในกลุ่มของตัวเอง(Segment) เช่น LCD ที่มีขนาดมากกว่า 35นิ้ว และเครื่องเล่นDVDที่มี Harddisk เพื่อการบันทึกในตัว เป็นต้น Carrefour มีการจัดกลุ่มโดยยึดเอาแบรนด์สินค้าเป็นหลัก ดังนี้

Category -------> Sub Category -------> Brand -------> Segment

Ex. (กลุ่มโทรทัศน์และเครื่องเล่นDVD) (กลุ่มโทรทัศน์) (SONY) (กลุ่มโทรทัศน์ LCD)


ข้อสังเกต-อื่นๆ : เปรียบเทียบในลักษณะความได้เปรียบ-เสียเปรียบ (Advantage)



TESCO-LOTUS


Carrefour


o มีพื้นที่ทางเดิน(aisle)สำหรับเดินเลือกซื้อสินค้ามากและกว้างกว่า

o มีสินค้าหลากหลายกว่า

o แผนกขายแผ่น DVD (สินค้าประกอบกับเครื่องเล่นDVD)อยู่ไกลจากแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า

o แผนกอยู่ห่างจากประตูทางเข้าโดยอยู่สุดกำแพงด้านหลัง

o มีโทรศัพท์มือถือเครื่องจริงให้ทดลองใช้ไม่ต้องเรียก พนง.

o จำนวนพนักงานขายต่อพื้นที่มีน้อยกว่า

o สื่อที่เปิดบนทีวีไม่เรียกร้องความสนใจเท่าที่ควรและไม่มีการเปิดเครื่องเสียงโชว์

o มีเต้าเสียบปลั๊กไฟเพื่อให้ลองเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นระยะที่บริเวณชั้นวาง

o มีการจัดวางสินค้าเต็มชั้นวาง


o มีพื้นที่ทางเดิน(aisle)สำหรับเดินเลือกซื้อสินค้าน้อยและแคบกว่า

o มีสินค้าน้อยกว่า

o แผนกขายแผ่น DVD อยู่ติดกับแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้มีโอกาสขายเพิ่มได้มากกว่า

o เป็นแผนกแรกจากประตูทางเข้า ,เข้าถึงและสังเกตุได้ง่ายกว่า

o ต้องเรียก พนง.เพื่อลองโทรศัพท์มือถือเครื่องจริง ,มีให้ทดลองแค่ Model

o จำนวนพนักงานขายต่อพื้นที่มีมากกว่า

o มีการเปิดสื่อบันเทิงบนทีวีและเครื่องเสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจ เช่น รายการคอนเสริ์ต เป็นต้น

o มีเต้าเสียบปลั๊กไฟเพื่อให้ลองเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นระยะที่บริเวณชั้นวาง เช่นกัน

o การจัดวางสินค้าเต็มชั้นวาง เช่นกัน


วิพากษ์การจัดเรียงสินค้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าประกอบขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนจึงมีรายละเอียดมากมายซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ การที่เครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อหนึ่งๆจะสามารถสร้างความภักดีของลูกค้าในตรายี่ห้อ (Brand Loyalty) ได้นั้น จะต้องเกิดจากความไว้วางใจของลูกค้าในคุณภาพสินค้าและประวัติการดำเนินงานในอดีตเป็นสำคัญ ดังเช่น สินค้ายี่ห้อ Sony แม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าสินค้ายี่ห้ออื่นในตลาดโดยทั่วไปแต่ก็มีกลุ่มลูกค้าที่พึงพอใจยินดีที่จะจ่ายแพงกว่า เพราะมีความไว้วางใจ และ Brand Loyalty จึงทำให้ SONY สามารถแข่งขันกับสินค้ายี่ห้ออื่นที่ราคาถูกกว่าใน Spec.ที่ใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ดีปัจจุบันมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลากหลายยี่ห้อที่สามารถผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำทำให้สามารถตั้งราคาขายที่ถูกกว่า Sony ด้วยช่องว่างราคา (Spread) ที่แตกต่างกันมากนี้ ก็จะสามารถทำให้กลุ่มลูกค้าที่มี Brand Loyalty สามารถเปลี่ยนใจได้ ดังนั้นด้วยชั้นวางที่มีอยู่จำกัด TESCO-LOTUS จึงต้องทำการตัดสินใจเลือก ด้วยเป้าหมายการสร้างผลกำไรสูงสุดเป็นหลักนี้ จะต้องชั่งน้ำหนักให้ดีในการพิจารณาปัจจัยของ ความต้องการลูกค้า อำนาจต่อรองกับผู้ผลิต (ผู้ผลิตที่มีค่า Brand Loyaltyสูงมักมีอำนาจต่อรองสูงด้วย) กำไรต่อหน่วยที่ได้ รวมถึงการมียี่ห้อสินค้าที่หลากหลายเพื่อให้ทางเลือกกับลูกค้า ล้วนเป็นสิ่งสำคัญ ปัจจัยที่กล่าวถึงนี้เพื่อพิจารณาประกอบการเลือกเพื่อลงชั้นวาง จะมีการได้อย่าง-เสียอย่างต่อกัน (Trade-Off) ทำให้ผู้ตัดสินใจเลือกต้องพิจารณาให้เหมาะสมที่สุด เช่น การเลือกสินค้าที่มี Brand Loyalty สูงก็อาจทำให้กำไรต่อหน่วยที่ต่ำลง เพราะผู้ผลิตมีอำนาจการต่อรองสูง , การเลือกสินค้าที่มี Brand Loyalty ต่ำก็อาจทำให้กำไรต่อหน่วยมากขึ้น แต่ก็เสี่ยงกับการที่ลูกค้าจะไม่ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งก็จะเกิดผลเสียต่อภาพลักษณ์ของ TESCO-LOTUS ตามลำดับเพราะเป็นผู้จัดสรรเสนอให้กับลูกค้า นั่นหมายถึงเป็นผู้คัดกรองมาให้ก่อนในเบื้องต้นแล้ว (Initial Review)

การจัดเรียงสินค้าในแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าของทั้งสองแห่งมีลักษณะที่ให้ความสำคัญกับกลุ่มสินค้าเป็นหลัก (Segment) ซึ่งเป็นลักษณะการจัดเรียงสินค้าโดยทั่วไปของไฮเปอร์มาร์เก็ตในทุกๆแผนก ซึ่งเป็นการง่ายต่อความเข้าใจในการจัดเรียงของพนักงานและการค้นหาสินค้าของลูกค้า เพราะไฮเปอร์มาร์เก็ตนั้นมีสินค้ามากมายและพื้นที่กว้างขวาง หากลูกค้ามุ่งค้นหาเฉพาะสินค้าที่เขาต้องการเช่น ทีวี เขาก็จะได้เจอทีวีหลากหลายรูปแบบและหลากหลายยี่ห้อในบริเวณพื้นที่เดียวกัน แต่ใน Carrefour สำหรับสินค้าที่มีราคาจำหน่ายสูง เช่น LCD ที่มีจอกว้างมากๆนั้น จะมีการจัดวางในลักษณะที่ให้ความสำคัญกับBrandเป็นสำคัญ โดยจัดเป็น Single Stand Display มีป้ายแสดงBrandของสินค้าเด่นชัดและมีการตกแต่งไปตามรูปแบบ(Style)ที่แตกต่างออกไปแต่ละBrand มองไปแล้วคล้ายกับการจัดวางในลักษณะเดียวกับ Department store เช่น Central ทำให้รู้สึกถึงความเป็นพิเศษ (Premium)และมีการให้คุณค่ากับสินค้าที่ถูกจัดเรียงมากขึ้น จึงสามารถทำให้ดึงดูดลูกค้า และทำให้เกิดความประทับใจจากลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้าที่มีราคาแพงเหล่านี้ได้มากขึ้น ดังนั้นโอกาสที่จะปิดการขายได้ก็มากขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ดีการจัดสินค้าในลักษณะนี้จะมีต้นทุนในการจัดเรียงมากขึ้นเพราะต้องออกแบบและตกแต่งชั้นวางให้ดูพิเศษมากกว่าชั้นวางแบบปกติทั่วไป ซึ่งหากต้นทุนเหล่านี้คำนวณเข้าเป็นต้นทุนต่อหน่วยสินค้าที่ขายแล้วก็จะทำให้มีราคาที่สูงขึ้น จึงทำให้ต้องกำหนดราคาสูงขึ้น เมื่อราคาสูงขึ้นโดยเปรียบเทียบกับ TESCO-LOTUS แล้วก็จะทำให้สูญเสียลูกค้าไปได้หากลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้าราคาแพงนี้เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับราคามากที่สุด (โดยปกติความต้องการซื้อจะอ่อนไหวกับราคามากที่สุด)

เรื่องความหลากหลาย (Assortment) และความมีอยู่เพื่อบริการ (Availabilty) ทั้งสองแห่งมีความใกล้เคียงกัน โดย TESCO-LOTUS เหนือกว่าในจุดนี้ จึงสามารถทำให้ลูกค้าเพลิดเพลินไปกับการเลือกสรร(เปรียบเทียบสินค้าในกลุ่ม)ได้มากกว่า ดึงดูดลูกค้าได้มากกว่าเพราะสินค้าที่มากมายนั้นแสดงถึงการให้ทางเลือก (Optional) กับลูกค้ามากกว่า และในกรณีเดียวกันนี้สามารถที่จะลดต้นทุนในการค้นหา (Searching cost) ของลูกค้าลงได้ ประกอบกับความเชื่อมั่นว่าถ้ามา TESCO-LOTUS ก็จะได้ของที่ต้องการแน่ๆเพราะหากไม่เจอที่นี่แล้วไปที่อื่นก็ไม่แน่ว่าจะเจอเช่นกัน รวมถึงมีช่องทางเดิน(Aisle)กว้างขวางกว่า ทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง มีความสะดวกสบายในการเดินช๊อปปิ้งมากกว่า


โอกาสทางธุรกิจ

แม้ในปัจจุบันตั้งแต่ต้นปีภาวะเศรษฐกิจไม่สู้ดีนัก ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของสหรัฐ ส่งผลกระทบไปยังระบบเศรษฐกิจอื่นๆทั่วโลก อย่างไรก็ตามเนื่องจากกลุ่มผู้ประกอบการธนาคารในประเทศมีผลประกอบการที่แข็งแกร่งทำให้เศรษฐกิจในประเทศไม่เกิดผลเสียมากนักจากแรงกระทบนี้ และในขณะนี้เริ่มมีสัญญาณทางเศรษฐกิจต่างๆดีขึ้น เช่น ผลประกอบการบริษัทในสหรัฐดีขึ้น ตัวเลขผู้ว่างงานเริ่มลดลง ราคาหลักทรัพย์เริ่มสูงขึ้น เหล่านี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เชื่อได้ว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวก็จะทำให้คนมีรายได้มากขึ้น ทั้งความเชื่อมั่นในการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

อุปสรรค

ตามที่ได้กล่าวใน โอกาสทางธุรกิจ ว่าเริ่มมีสัญญาณทางเศรษฐกิจต่างๆดีขึ้น แต่มีนักวิเคราะห์หลายท่านเชื่อว่าบางทีอาจเป็นการฟื้นตัวแค่ในช่วงสั้นๆเท่านั้น

มีเหตุการณ์พิเศษที่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจมากมาย เช่น ไข้หวัด 2009 และการเมืองภายในประเทศ และการรวมตัวกันประท้วงของผู้ค้าปลีกรายย่อย เพื่อไม่ให้ขยายสาขา เป็นต้น


ข้อเสนอแนะ สำหรับTESCO-LOTUS

ควรมีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อมวลชนในข้อได้เปรียบของแผนกให้มากขึ้น เช่น สำหรับโทรศัพท์มือถือ.เครื่องเล่น Mp3 ,กล้องDigital และกล้องวีดีโอ ลูกค้าจะสามารถได้สัมผัสของจริงเพื่อทดสอบคุณภาพและคุณสมบัติ ซึ่งเป็นการรับรองความมั่นใจที่จะเลือกซื้อโดยตัวลูกค้าเอง

เนื่องจากมีพื้นที่กว้างขวาง จึงควรที่จะจัดพื้นที่เล็กๆทำเป็นห้องรับแขก เพื่อที่จะยกผลิตภัณฑ์จำพวก LCD และเครื่องเสียงราคาแพงที่ลูกค้าสนใจให้ได้ทดลอง เป็นการสร้างความประทับใจให้ลูกค้าระดับพรีเมียม

ควรมีการเปิดแสดงสื่อบันเทิงเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาในแผนกมากขึ้น เช่น วีดีโอคอนเสิร์ต หรือ การถ่ายทอดสดกีฬาต่างๆ ในทางเดียวกันลูกค้ายังได้ทดลองดู ทีวี หรือฟังเครื่องเสียงนั้นๆที่จัดแสดงอีกด้วย

ควรนำสินค้าที่สามารถขายประกอบกันได้เข้ามาในแผนกหรือใกล้ชิดแผนกมากขึ้น เช่น DVDภาพยนต์(ปัจจุบันอยู่ห่างกันมากพอสมควร) เพื่อสร้างโอกาสในการเพิ่มยอดขาย

สำหรับสินค้าที่เริ่มตกกระแส หรือมีเทคโนโลยีที่เริ่มล้าสมัย ควรนำมาลดราคาในลักษณะนาทีทอง โดยตั้งเป็น Single Stand Display และมีพริตตี้+พิธีกร เพื่อระบายสินค้าก่อนที่ราคาสินค้าจะ drop ลงไปมากเนื่องจากล้าสมัย

ควรมีโปรโมชั่นสำหรับการขายควบ (Bundle)มากขึ้นสำหรับสินค้าที่ใช้ประกอบกัน เช่น ซื้อมือถือ Nokiaวันนี้จะได้รับสิทธิซื้อแบตเตอรี่เพื่อสำรองในราคาลด 50% , ซื้อ LCD 32นิ้วขึ้นไป เพิ่มเงินอีก 2,000 บาทรับฟรีเครื่องเล่นDVD เป็นต้น

อาจมีการจัดเรียงสินค้าโดยยึดเอากลุ่มลูกค้าเป็นสำคัญ เช่น กลุ่มวัยรุ่น : มีการนำมือถือ ,โทรทัศน์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆที่มีสีฉูดฉาดมาวางเรียงๆกันในกลุ่มเดียวกัน จัดเป็น Zone สำหรับวัยรุ่นโดยเฉพาะ เพื่อให้เข้าถึงกับ Life Style ลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น


สำหรับบทความเรื่อง"กลยุทธ์การบริหารแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าในธุรกิจค้าปลีก [Merchandising Strategies in Electronics Department in Hypermarket]"

ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ แต่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่เพื่อการศึกษาโดยการอ้างอิงแหล่งที่มา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร  ? บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ There is no such thing as a free lunch การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity) การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin) การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Margina

กระบวนการ(process) สำคัญกว่า ผลลัพธ์(output)

ฝากถึงน้องๆที่เรียนหรือทำงานสายการตลาด หรืองานใดที่มีเป้าหมาย(goal)เป็นสำคัญ รวมถึงท่านผู้บริหาร.... อย่าได้ไปสนใจผลลัพธ์[output] เป้าหมายหรือคะแนนที่ได้ มากจนเกินไป หลายครั้งที่ผลลัพธ์นั้นเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ หรือต้องใช้โชคช่วย(ดวง) แต่ถ้าเรามีการทำงานหรือมีกระบวนการทำงาน(PROCESS)ที่ดี ...แม้ว่าผลลัพธ์วันนี้ยังไม่ดี จะขอให้เชื่อมั่น และมั่นใจ ในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่ดี และมีคุณภาพ ว่าสักวันหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ดีจะต้องตามมา อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากบางท่านมีกระบวนการที่ไม่ดี แต่ดันโชคช่วยมีผลงานที่ดี ก็อย่าได้เบาใจ จะขอให้ จงระมัดระวัง ว่าผลลัพธ์หรือลูกค้าที่ดีนั้น จะอยู่กับท่านได้ไม่นาน หรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปก็เป็นได้ เพราะว่าดวงที่ดี จะไม่มาช่วยท่านอยู่บ่อยๆหรอก สรุปคือ ... "กระบวนการดี ผลลัพธ์ดีแน่ กระบวนการไม่ดี ผลลัพธ์ไม่แน่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่าบ้าผลลัพธ์มากจนเกินไป สิ่งสำคัญคือการพัฒนาการทำงาน ไม่ใช่ทำทุกทางเพื่อความสำเร็จ สำเร็จแล้วมิใช่เอาแต่ทำบุญหวังโชค หากต้องพัฒนาตนให้ก้าวต่อไปด้วย จึงจะมั่นคง" ปล.ต่อยอดความคิดจ

Ben Bernanke : พี่เหม่ง

Ben Bernanke เป็นบุคคลที่ผมชอบเขียนล้อเลียนขำขำ โดยเรียกว่า"พี่เหม่ง" ... เบนันเก้เป็นประธานFedที่รับไม้ต่อจากนายอลัน กรีนสแปน ซึ่งดำรงตำแหน่งเกือบ 20ปี บุคคลที่นักธุรกิจชาวUsกล่าวยกย่องถึงขนาดที่ว่าเป็นเทวดามาโปรด เพราะสามารถทำให้เศรษฐกิจus เติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด อย่างไรก็ดีไม่มีอะไรจะฝืนธรรมชาติได้ การโตอย่างต่อเนื่องมันต้องมีจุดย่อตัวบ้าง แต่ในขณะนั้นเศรษฐกิจus เติบโต เติบโต เติบโต จากมาตรการของนายกรีนสแปน ที่สำคัญก็คือการลดอัตราดอกเบี้ย เมื่อโตอย่างไม่หยุดพัก ก็เหมือนฟองสบู่ลอยล่องรอวันแตก จนกระทั่งพี่เหม่งของผมเข้ามารับช่วงต่อ ฟองสบู่ก็แตกโพล๊ะ พอดิบพอดี -_-" พี่เหม่งของผมก็เลยรับความซวยนี้ไปเต็มๆ ...อย่างไรก็ดีไม้เด็ดของเฮียอย่างQe ถือเป็นการคิดนอกกรอบเพื่อการแก้วิกฤติแบบนึกไม่ถึงเลยทีเดียว จึงทำให้ในปัจจุบันUs สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตนั้นมาได้ด้วยเงินร้อนๆจากQe 2557ม.ค. ,เฮียกำลังจะหมดวาระ โดยมีแคนดิเดตเช่น ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส  และ เจเน็ต เยลเลน ที่จะเข้ามารับช่วงต่อ ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อชื่นชมเฮียแกจริงๆครับ คงคิดถึงไม่น้อยเลยอะ ..... T-