ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาวะหุ้นและทอง 3-8-11 ค่ำ "Sectorแห่งอนาคต"

ตัวเลขการสั่งซื้อสินค้าโรงงาน ต่ำลง 0.8%ในเดือนมิ.ย.เป็นดัชนีหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอทางภาคการผลิตในUS รวมไปถึงภาคการบริการก็เติบโตต่ำกว่าคาดและการสร้างงานในภาคบริการก็ยังคงน้อยนิดเช่นกัน  ...อย่างไรก็ดี DOWJ ร่วง8วันติดวันนี้อาจมี Technical rebound

ส่วนทองคำเริ่มเข้าเขตซื้อมากเกินไปดังนั้นแม้มีตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำของUS แต่ทองคำยังไม่สามารถทะยานต่อไปอีกได้ไกล(ขาขึ้นเริ่มอ่อ่นแรง) แต่Shorterยังไม่ต้องรีบร้อน(ทยอยได้แต่อย่าอัดเต็ม) เพราะOver boughtไม่ได้หมายความว่าจะลงแล้ว แต่มันบอกว่าน่าจะลงมากกว่า ดังนั้นหากท่านShortไปวันนี้ หากโชคร้ายวันพรุ่งนี้ USเจอ Downgradeขึ้นมา ท่านได้พบกับ Super Overboughtแน่ครับ

ส่วนSETบ้านเราผมสังเกตกลุ่มอาหารแข็งแกร่งดีนะครับ ทุกวันนี้โลกเราเอาแต่เล่นแร่แปรธาตุ คนที่ทำงานผลิตอาหารให้เราเช่นชาวนา เกษตรกรกลับมีรายได้เพียงน้อยนิด เมื่อเทียบกับผู้จัดการกองทุนหรือวิศวกรการเงินที่ทำงานแค่ผลิตฝัน,เพิ่มมูลค่าให้กับเงินของท่านซึ่งเป็นแค่สิ่งสมมุติเท่านั้น ....เมื่อเราฝันกันไปไกลสุดท้ายก็กลับมาสู่สามัญ  ทรัพยากร : อาหาร พลังงาน เป็นสิ่งที่เราต้องบริโภคทุกวันหากขาดมันไปแม้แต่วันเดียวหรือแม้แต่ครึ่งวันทุกๆคนมีปัญหาแน่นอน แต่อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ internet ท่านสามารถหยุดการบริโภคเป็นปีๆได้โดยชีวิตท่านก็สามารถดำรงอยู่ได้ อาจไม่สะดวกสบายเท่าใดนักแต่ท่านก็ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้ .... ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ สิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอนคือประชาชนโดยทั่วไปจะยากจนลง แต่จะมีกลุ่มคนที่เป็นinsiderกลุ่มเล็กๆเท่านั้น(นักการเมือง)ที่ฉกฉวยการเคลื่อนไหวของราคาอันรุนแรงนี้ไปสร้างผลประโยชน์มหาศาลได้ เมื่อความยากจนขยายตัวเป็นวงกว้างแม้เราจะมีเงินเดือนเยอะขึ้นแต่ก็จนลงๆเพราะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมากกว่า ดังนั้นสิ่งที่นอกเหนือไปกว่าการดำรงชีวิตจะถูกชะลอออกไปก่อน อันนี้ผมก็สามารถตอบคำถามให้กับท่านที่ชอบลงทุนระยะยาวได้ว่า sectorไหนเป็นsectorแห่งอนาคตได้นะครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร  ? บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ There is no such thing as a free lunch การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity) การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin) การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Mar...

กระบวนการ(process) สำคัญกว่า ผลลัพธ์(output)

ฝากถึงน้องๆที่เรียนหรือทำงานสายการตลาด หรืองานใดที่มีเป้าหมาย(goal)เป็นสำคัญ รวมถึงท่านผู้บริหาร.... อย่าได้ไปสนใจผลลัพธ์[output] เป้าหมายหรือคะแนนที่ได้ มากจนเกินไป หลายครั้งที่ผลลัพธ์นั้นเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ หรือต้องใช้โชคช่วย(ดวง) แต่ถ้าเรามีการทำงานหรือมีกระบวนการทำงาน(PROCESS)ที่ดี ...แม้ว่าผลลัพธ์วันนี้ยังไม่ดี จะขอให้เชื่อมั่น และมั่นใจ ในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่ดี และมีคุณภาพ ว่าสักวันหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ดีจะต้องตามมา อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากบางท่านมีกระบวนการที่ไม่ดี แต่ดันโชคช่วยมีผลงานที่ดี ก็อย่าได้เบาใจ จะขอให้ จงระมัดระวัง ว่าผลลัพธ์หรือลูกค้าที่ดีนั้น จะอยู่กับท่านได้ไม่นาน หรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปก็เป็นได้ เพราะว่าดวงที่ดี จะไม่มาช่วยท่านอยู่บ่อยๆหรอก สรุปคือ ... "กระบวนการดี ผลลัพธ์ดีแน่ กระบวนการไม่ดี ผลลัพธ์ไม่แน่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่าบ้าผลลัพธ์มากจนเกินไป สิ่งสำคัญคือการพัฒนาการทำงาน ไม่ใช่ทำทุกทางเพื่อความสำเร็จ สำเร็จแล้วมิใช่เอาแต่ทำบุญหวังโชค หากต้องพัฒนาตนให้ก้าวต่อไปด้วย จึงจะมั่นคง" ปล.ต่อยอดความคิดจ...

Ben Bernanke : พี่เหม่ง

Ben Bernanke เป็นบุคคลที่ผมชอบเขียนล้อเลียนขำขำ โดยเรียกว่า"พี่เหม่ง" ... เบนันเก้เป็นประธานFedที่รับไม้ต่อจากนายอลัน กรีนสแปน ซึ่งดำรงตำแหน่งเกือบ 20ปี บุคคลที่นักธุรกิจชาวUsกล่าวยกย่องถึงขนาดที่ว่าเป็นเทวดามาโปรด เพราะสามารถทำให้เศรษฐกิจus เติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด อย่างไรก็ดีไม่มีอะไรจะฝืนธรรมชาติได้ การโตอย่างต่อเนื่องมันต้องมีจุดย่อตัวบ้าง แต่ในขณะนั้นเศรษฐกิจus เติบโต เติบโต เติบโต จากมาตรการของนายกรีนสแปน ที่สำคัญก็คือการลดอัตราดอกเบี้ย เมื่อโตอย่างไม่หยุดพัก ก็เหมือนฟองสบู่ลอยล่องรอวันแตก จนกระทั่งพี่เหม่งของผมเข้ามารับช่วงต่อ ฟองสบู่ก็แตกโพล๊ะ พอดิบพอดี -_-" พี่เหม่งของผมก็เลยรับความซวยนี้ไปเต็มๆ ...อย่างไรก็ดีไม้เด็ดของเฮียอย่างQe ถือเป็นการคิดนอกกรอบเพื่อการแก้วิกฤติแบบนึกไม่ถึงเลยทีเดียว จึงทำให้ในปัจจุบันUs สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตนั้นมาได้ด้วยเงินร้อนๆจากQe 2557ม.ค. ,เฮียกำลังจะหมดวาระ โดยมีแคนดิเดตเช่น ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส  และ เจเน็ต เยลเลน ที่จะเข้ามารับช่วงต่อ ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อชื่นชมเฮียแกจริงๆครับ คงคิดถึงไม่น้อยเลยอะ ..... T-...