ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ซื้อถูก-ขายแพง...แบบมีวินัย

กฏเหล็กนักลงทุน ทำได้ง่ายๆ แบบชิวๆ (1) โดย จารุทัศน์

กราฟแสดงเส้นราคา แนวรับ.แนวต้าน PTT (ที่มา efinancethai.com)

ใช่แล้ว ! นักลงทุนผู้ลงทุนในหุ้นทุกคนจักต้องซื้อถูกขายแพงจึงจะได้กำไรน่ะสิ ไม่ต้องบอกก็รู้ ...แต่ว่า ซื้อถูก-ขายแพง...แบบมีวินัย เนี่ย! จังหวะไหน ทำยังไง คำตอบก็คือ ความมีวินัยในการซื้อถูก คือ ให้ดูจังหวะซื้อที่บริเวณแนวรับ และความมีวินัยในการขายแพงก็คือ ให้ดูจังหวะขายที่บริเวณแนวต้าน แค่นี้เองครับ (ห้ามทำสวนนะครับ เพราะว่า หากทำสวนตามที่บอกก็ คือ ขาดทุนน่ะสิ)

· $ ซื้อที่แนวรับ : หมายถึง ซื้อตอนที่..

o ตอนที่..เส้นราคาสามารถตัดขึ้นเส้นค่าเฉลี่ยซึ่งจากเดิมที่เป็นแนวต้านขึ้นมา(ตัดขึ้นซื้อ:จังหวะซื้อ) เส้นแนวต้านเดิมก็จะกลายเป็นแนวรับใหม่(เส้นเดียวกันนั่นละครับ)

o ตอนที่..เส้นราคาตกลงมาที่เส้นแนวรับและสามารถยืนได้และมี Volume(ปริมาณการซื้อขาย) สนับสนุนการยืนอย่างแข็งแรงที่ราคานี้มากพอควร จะเป็นการยืนยันความปลอดภัยของราคาที่เราซื้อได้ในระดับหนึ่ง หากราคาไม่สามารถยืนเส้นค่าเฉลี่ยได้และตัดลงมาเป็นจังหวะที่หากมีหุ้นอยู่ก็ควรขายออกครับ (ตัดลงขาย:จังหวะขาย)

· $ ขายที่แนวต้าน :

o ขณะที่พิจารณาหาก(ยัง)มีเส้นค่าเฉลี่ยอยู่เหนือเส้นราคา นี่ละครับคือเส้นแนวต้าน ถ้าไม่มีเส้นค่าเฉลี่ยอยู่เหนือเส้นราคาก็ให้ทำแนวต้านเองโดยการวาดเส้นSlopจากHigh เดิมลากยาวๆจากซ้ายมาขวาที่ปัจจุบัน หรือหากไม่อยากวาดก็เอาแค่เพียงใช้ราคา High เดิมเป็นราคาแนวต้านก็พอได้ ( สามารถประยุกต์ใช้ได้กับเส้นแนวรับเช่นกันโดยวาดจากLowเดิม หรือ เป็นราคา Low เดิม ) เมื่อได้ราคาแนวต้านมาแล้วก็ให้พิจารณา...โดยเมื่อเส้นราคาวิ่งมาแถวๆนี้แล้วเราอาจจะขายสักครึ่งนึงก่อน เพราะหากราคาไม่ผ่านเส้นแนวต้านก็อาจจะทำให้เส้นราคาดีดลงกลับมาที่แนวรับได้ (ชื่อมันเองก็บอกอยู่แล้วว่ามันเป็นแนวต้าน คือ จะไม่ให้ผ่านไปได้ง่ายๆยังไงครับ) หรือหากเส้นราคาสามารถตัดผ่านทะลุเส้นแนวต้านได้ก็ให้ทยอยขายอีกรอบ ที่ผมให้ทยอยขายเพราะเราๆท่านๆ คงไม่มีใครรู้ว่าราคาไหนเป็นราคาที่ดีที่สุดใช่ไหมครับ ..ใครๆก็อยากขาย High กันทั้งนั้นเลย แต่จะขายได้สักกี่คนกันเชียว ดังนั้นผมจึงให้กลยุทธ์ทยอยขายยังไงละครับ ชีวิตจะได้ไม่ชีช้ำเพราะถูกเพื่อนล้อว่าขายหมู ขณะเดียวกันในกรณีนี้ก็สามารถนำไปประยุกต์ทยอยซื้อแถวๆแนวรับได้ (ก็ไม่มีใครหยั่งรู้ Lowนี่นา)


สรุป ที่เขียนมาทั้งหมดเนี่ย ก็เพียงแค่

ซื้อตอนถูก...หรือราคาลง...หรือตอน Panic Sell (ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง)

หรือ เข้าซื้อตอนเริ่มแพงในจังหวะที่เริ่มเป็นขาขึ้นก็ได้ (ก็ถือว่าได้ซื้้อราคาค่อนข้างถูก)

และ ให้ขายตอนแพง...หรือราคาขึ้น...หรือตอนที่เค้าเก็งกำไรกันเกินจริง(ราคาสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง)

หรือ ขายออกตอนราคาเริ่มถูก หมายถึงขายในจังหวะที่เป็นปลายขาขึ้นและเริ่มจังหวะขาลงให้เห็น

  • ขาขึ้น = low(ก้น) ใหม่ สูงกว่า low(ก้น) เดิม
  • ขาลง = low(ก้น) ใหม่ ต่ำกว่า low(ก้น) เดิม

เท่านี้เองครับ ...พูดง่ายทำยากจริงๆเลยนะเนี่ย ยังไงรู้กลยุทธ์บริหารการลงทุนเล็กๆน้อยๆไปแล้ว ก็ต้องลองปรับให้เข้ากับเรื่องการบริหารจิตกับใจของตัวนักลงทุนเองด้วยละกันนะครับ ^^


หมายเหตุ บทความเรื่อง ซื้อถูก-ขายแพง...แบบมีวินัย ขอสงวนลิขสิทธิ์เพื่อทางการค้าใดๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัญญัติ 10 ประการ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

แต่ละคนเลือกตัดสินใจกันอย่างไร  ? บทบัญญัติที่ 1 : แต่ละคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (Tradeoffs) เสมอ There is no such thing as a free lunch การแลกกันระหว่าง “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) และ “ความยุติธรรม” (Equity) การตระหนักรู้ในภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” ก็มีความสำคัญเพราะคนสามารถมีการตัดสินใจที่ดีก็ต่อเมื่อทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ บทบัญญัติที่ 2 : ต้นทุนของสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้ของสิ่งนั้นมา ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่คุณยอมสละไปเพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ผู้ตัดสินใจควรคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น นักกีฬาที่อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ หากออกจากโรงเรียนไปเป็นนักกีฬาอาชีพจะตระหนักดีว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเรียนต่อของเขาสูงมาก และไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นเลือกออกจากโรงเรียน เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น บทบัญญัติที่ 3 : คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (Margin) การเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มทีละหน่วย หรือ “Margina

กระบวนการ(process) สำคัญกว่า ผลลัพธ์(output)

ฝากถึงน้องๆที่เรียนหรือทำงานสายการตลาด หรืองานใดที่มีเป้าหมาย(goal)เป็นสำคัญ รวมถึงท่านผู้บริหาร.... อย่าได้ไปสนใจผลลัพธ์[output] เป้าหมายหรือคะแนนที่ได้ มากจนเกินไป หลายครั้งที่ผลลัพธ์นั้นเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ หรือต้องใช้โชคช่วย(ดวง) แต่ถ้าเรามีการทำงานหรือมีกระบวนการทำงาน(PROCESS)ที่ดี ...แม้ว่าผลลัพธ์วันนี้ยังไม่ดี จะขอให้เชื่อมั่น และมั่นใจ ในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่ดี และมีคุณภาพ ว่าสักวันหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ดีจะต้องตามมา อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากบางท่านมีกระบวนการที่ไม่ดี แต่ดันโชคช่วยมีผลงานที่ดี ก็อย่าได้เบาใจ จะขอให้ จงระมัดระวัง ว่าผลลัพธ์หรือลูกค้าที่ดีนั้น จะอยู่กับท่านได้ไม่นาน หรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปก็เป็นได้ เพราะว่าดวงที่ดี จะไม่มาช่วยท่านอยู่บ่อยๆหรอก สรุปคือ ... "กระบวนการดี ผลลัพธ์ดีแน่ กระบวนการไม่ดี ผลลัพธ์ไม่แน่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่าบ้าผลลัพธ์มากจนเกินไป สิ่งสำคัญคือการพัฒนาการทำงาน ไม่ใช่ทำทุกทางเพื่อความสำเร็จ สำเร็จแล้วมิใช่เอาแต่ทำบุญหวังโชค หากต้องพัฒนาตนให้ก้าวต่อไปด้วย จึงจะมั่นคง" ปล.ต่อยอดความคิดจ

My Hero

ผมเคยได้ดูภาพยนต์ที่ดีมากๆเรื่องหนึ่งชื่อว่า Batman-The Dark Knight และได้สรุปความลักษณะของฮีโร่คนนี้ได้ว่าเป็นบุคคลประเภท ปิดทองหลังพระ (ตามพระราชดำรัสของในหลวงที่เคารพยิ่งของเรา ที่หวังให้คนไทยเป็นคนดีให้ได้เช่นนี้บ้าง)กล่าวคือ เป็นผู้ซึ่งมีความต้องการช่วยเหลือผู้คนและขจัดความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นในสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆรวมทั้งชื่อเสียงและความมีหน้ามีตาในสังคม อีกทั้งยังได้ลงทุนลงแรงมากมายเพื่อให้สำเร็จตามประสงค์ของตนที่อยากได้สังคมที่ดีขึ้นกว่าที่เป็น ในชีวิตจริงนั้นคงเป็นไปได้ยากที่ในสังคมหนึ่งๆ หรือแม้แต่โลกทั้งใบกลมๆนี้จะมีคนเฉกเช่น Batman เพราะการทำดีในสังคมที่มีแต่อวิชชาหรือความโลภเป็นที่ตั้งนั้น กลับเป็นเรื่องยากที่ผู้ต้องการทำความดีที่อาจต้องมีการเสียสละเกิดขึ้น ซึ่งการเสียสละนี้จะเป็นต้นทุนหรือสิ่งที่เป็นผลเสียต่อคนที่ตั้งใจทำความดีนั้นให้ล้มเลิกความคิดไป หากแต่สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังจากสื่อต่างๆนั้นการทำความดีต่างๆที่พบเจอ 90%หรือมากกว่านั้นเสียอีก คนที่ทำดีผู้นั้นเขาทราบดีว่าเขาจะได้ออกสื่อหรือแม้แต่เป็นผู้เชิญชวนสื่อให้มาทำข่าวในเรื่องที่เขาทำความดีด้วยตัวเอง ซึ่งพบ